แปลจาก...Word History ของ McDougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

เมืองที่มีการวางผังเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ

เมืองที่มีการวางผังเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์อันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นและเสื่อมลง อารยธรรมเหล่านั้น ได้ทิ้งหลักฐานทางกายภาพเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตไว้เบื้องหลังเป็นอันมาก เหมือนกับพื้นที่ที่ปัจจุบันนี้เรียกว่า ปากีสถานและบางส่วนของอินเดีย ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมอีกแหงหนึ่ง ที่เกิดขึ้นประมาณ 2500 ปี ก่อนคริสตกาล แต่นักประวัติศาสตร์รู้เรื่องเกี่ยวกับต้นกำเนิดและเหตุผลของการเสื่อมลงในตอนท้ายน้อยกว่าที่พวกเขารู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดและการเสื่อมลงของเมโสโปเตเมียและอียิปต์ เนื่องจากภาษาของวัฒนธรรมนั้นยังไม่ได้รับการแปล
ภูมิศาสตร์ของอนุทวีปอินเดีย (Indian Subcontinent)
นักภูมิศาสตร์มักจะกล่าวถึงแผ่นดินใหญ่ ที่ประกอบด้วยอินเดีย ปากีสถานและบังกลาเทศว่า เป็นอนุทวีปอินเดีย (Indian Subcontinent) กำแพงภูเขาที่สูงที่สุดในโลก คือ เทือกเขาฮินดูกูช (Hindu Kush)  การาโกรัม (Karakorum) และเอกเขาหิมาลัย (Himalayan range) แบ่งแยกภูมิภาคนี้ออกจากส่วสนอื่นของทวีปเอเชีย
แม่น้ำ ภูเขา และที่ราบ  ภูเขาที่สูงที่สุดในโลกอยู่ทางทิศเหนือและทะเลทรายขนาดใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออก ช่วยปกป้องลุ่มแม่น้ำสินธุจากการบุกรุก ภูเขาป้องกันที่ราบอันใหญ่มหึมาและอุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นจากแม่น้ำสองสาย คือ สินธุและคงคา แม่น้ำแต่ละสายมีความเชื่อมโยงที่สำคัญจากภายในทวีปไปยังทะเล แม่น้ำสินธุไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จากเทือกเขาหิมาลัยไปยังทะเลอาหรับ ลุ่มแม่น้ำสินธุตอนล่างส่วนมากปกคลุมโดยทะเลทรายธาร์ (Thar Desert) การทำการเกษตรทำได้เฉพาะในพื้นที่รับน้ำได้โดยตรงจากแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคาไหลลงจากเทือกเขาหิมาลัยและไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านภาคเหนืออินเดีย เชื่อมแม่น้ำพรหมบุตรแล้วไหลลงสู่อ่าวเบงกอล  (Bay of Bengal)
แม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคาตลอดจนแผ่นดินที่แม่น้ำเหล่านี้หล่อเลี้ยงสร้างสรรค์พื้นที่ขนาดใหญ่ กินเนื้อที่ 1,700 ไมล์ข้ามภาคเหนือของอินเดีย จึงเรียกว่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนเหนือของอินเดีย (Indo-Gangetic Plain)  แม่น้ำเหล่านี้ เหมือนแม่น้ำไทกริสยู แม่น้ำยูเฟรติสและแม่น้ำไนล์ ไม่เพียงแต่นำพาน้ำไปยังชลประทานเท่านั้น แต่ยังตกตะกอนที่ทำให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์สำหรับทำการเกษตรอีกด้วย
ตอนใต้ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทางทิศใต้ของอนุทวีป คือคาบสมุทรที่ยื่นลงไปทางใต้สู่มหาสมุทรอินเดีย ศูนย์กลางของคาบสมุทรคือที่ราบสูงซึ่งถูกตัดโดยแม่น้ำที่คดเคี้ยว ภูมิภาคนี้เรียกว่า ที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau) ที่ราบสูงนี้ล้อมรอบด้วยเทือกเขาขนาดต่ำ  เรียกว่า    กาตตะวันออกและกาตตะวันตก (the Eastern and Western Ghats)  ภูเขาเหล่านี้ขวางกั้นไม่ให้อากาศชื้นแฉะเข้าถึงที่ราบสูงนั้น ทำให้ที่ราบสูงนั้นเป็นภูมิภาคแห้งแล้ง  ขอเขตแคบ ๆ ของแผ่นดินเขตร้อนอันเขียวชอุ่มอยู่พาดไปตามชายฝั่งของอินเดียตอนใต้

มรสุม  ลมประจำฤดู (Seasonal winds) เรียกว่า มรสุม (monsoons) มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศของอินเดีย ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมฤดูหนาวจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาอากาศแห้งข้ามประเทศไปทางทิศตะวันตก ต่อจากนั้น ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ลมก็เปลี่ยนทิศทาง  มรสุมเหล่านี้พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออก พาเอาความชื้นจากมหาสมุทรไปกับเมฆฝนขนาดใหญ่ พายุที่มีอิทธิพลก็นำพาความชื้นเป็นอันมากซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ เมื่อมรสุมฤดูร้อนไม่มีวิวัฒนาการ ความแห้งแล้งก็ทำให้เกิดภัยพิบัติแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นประจำ

การผจญภัยกับสิ่งแวดล้อม  อารยธรรมที่เกิดขึ้นตามลุ่มแม่น้ำสินธุต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายเช่นเดียวกับอารยธรรมเมโสโปเตและอียิปต์โบราณ คือ
น้ำท่วมประจำปี กระยายดินอันอุดมสมบูรณ์ที่ทับถมกันไปเป็นบริเวณกว้าง แต่น้ำท่วมริมแม่น้ำสินธุก็คาดเดาไม่ได้
บางครั้งแม่น้ำก็เปลี่ยนทิศทาง
วงจรของฤดูกาลที่ชุ่มชื้นและแห้งแล้งที่ลมมรสุมพัดพามาก็คาดเดาไม่ได้ หากมีฝนตกน้อยเกินไป พืชพันธุ์ธัญญาหารในทุ่งนาก็เหี่ยวแห้งและคนก็เกิดความหิวโหย หากมีฝนตกมากเกินไป น้ำท่วมพัดพาไปทั้งหมู่บ้าน




แผนที่อินเดียโบราณ
อารยธรรมอุบัติขึ้นบนลุ่มแม่น้ำสินธุ
นักประวัติศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุน้อยกว่าอารยธรรมตะวันตก พวกเขายังไม่ได้ถอดรหัสระบบการเขียนของอินเดีย หลักฐานส่วนใหญ่มาจากการขุดค้นทางโบราณคดี แม้ว่าจะมีแหล่งที่ยังคงมิได้สำรวจจำนวนมาก และน้ำท่วมอาจจะชะล้างหลักฐานอื่น ๆ ทิ้งไปนานแล้ว อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุก็มีอิทธิพลต่อพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรืออารยธรรมอียิปต์
การปรากฏขึ้นในช่วงแรก  ไม่มีใครแน่ใจว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เริ่มต้นขึ้นในอนุทวีปอย่างไร บางทีอาจจะเป็นผู้คนที่เดินทางมาจากแอฟริกาทางทะเล ตั้งรกรากอยู่ทางทิศใต้ ผู้อพยพทางตอนเหนืออาจจะเดินทางผ่านช่องเขาไคเบอร์ (Khyber Pass) ในเทือกเขาฮินดูกูช (Hindu Kush) นักโบราณคดีได้พบหลักฐานในพื้นที่สูงที่มีการทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงแกะกับแพะย้อนไปประมาณ 7000 ปีก่อนคริสตกาล  ประมาณ 3200 ปี ก่อนคริสตกาลผู้คนทำการเกษตรในหมู่บ้านริมแม่น้ำสินธุ
เมืองที่มีการวางแบบแปลน  ประมาณ 2500 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะที่ชาวอียิปต์กำลังสร้างพีระมิด ผู้คนในลุ่มแม่น้ำสินธุก็ก่ออิฐเป็นเมืองแห่งแรกของอินเดีย พวกเขาได้สร้างเขื่อนที่แข็งแรงหรือกำแพงดินเพื่อกันน้ำออกจากเมืองของพวกเขา เมื่อเขื่อนเหล่านี้ไม่เพียงพอ พวกเขาก็สร้างเกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อยกระดับเมืองให้สูงขึ้นจากการถูกน้ำท่วมเท่าที่จะทำได้ นักโบราณคดีพบซากปรักหักพังของการตั้งถิ่นฐานมากกว่า 100 แห่ง ตามแม่น้ำสินธุและแม่น้ำสาขาในปากีสถานปัจจุบันเป็นส่วนมาก เมืองที่ใหญ่ที่สุด คือ กลิบังคัน (Kalibangan) โมเหนโจ-ดาโร (Mohenjo-Daro) และฮารัปปา (Harappa) บางครั้ง อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ก็เรียกว่า อารยธรรม Harappan เพราะการค้นพบทางโบราณคดีจำนวนมาก เกิดขึ้นในตำแหน่งนี้

ความสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของผู้คนลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ การวางผังเมืองที่มีความสลับซับซ้อน เมืองของชาวเมโสโปเตเมียในยุคแรก มีความสับสนของอาคารที่เชื่อมต่อกันด้วยถนนคดเคี้ยวเป็นเขาวงกต ในทางตรงกันข้าม ผู้คนในลุ่มแม่น้ำสินธุวางผังเมืองเป็นระบบตารางได้อย่างแม่นยำ เมืองที่มีพื้นที่สำหรับป้องกันข้าศึก เรียกว่า ป้อมปราการ ประกอบด้วยอาคารหลักของเมือง อาคารสร้างขึ้นจากอิฐเตาอบตัดได้ขนาดมาตรฐาน   ไม่เหมือนกับอิฐโคลนที่ตากแดดแบบง่าย ๆ ไม่เรียบของชาวเมโสโปเตเมีย  วิศวกรในยุคแรกยังสร้างท่อประปาและระบบบำบัดน้ำเสียที่มีความสลับซับซ้อน  ระบบเหล่านี้อาจจะมีความสามารถทัดเทียมกับระบบระบายน้ำในเมืองทั้งหมดที่สร้างขึ้นก่อนศตวรรษที่ 19  ความเป็นเอกภาพในการวางผังเมืองและการก่อสร้างแสดงให้เห็นว่าประชาชนลุ่มแม่น้ำสินธุได้พัฒนารัฐบาลกลางที่แข็งแกร่ง

ผังเมืองฮารัปปา  ตัวเมืองฮารัปปาเองเป็นตัวอย่างที่ดีของการวางผังเมืองนี้  เมืองบางส่วนก็สร้างขึ้นบนอิฐโคลนยกพื้นเพื่อป้องกันน้ำท่วม กำแพงอิฐหนาล้อมรอบเมืองยาวประมาณ 3 ไมล์ครึ่ง (ประมาณ 7 กิโลเมตร) ส่วนภายในเป็นป้อมปราการ ซึ่งจัดไว้เพื่อคุ้มครองราชวงศ์และยังทำหน้าที่เป็นวิหารอีกด้วย ถนนเป็นระบบตารางกว้าง 30 ฟุตเท่ากัน มีกำแพงแบ่งเขตที่อยู่อาศัยออกจากกัน บ้านมีขนาดแตกต่างกัน บางหลังอาจจะสูงถึงสามชั้น ตรอกที่คับแคบจะแบ่งบ้านเป็นแถว วางเป็นหน่วยสี่เหลี่ยม สิ่งก่อสร้างที่เป็นห้องน้ำจะระบายน้ำเสียออกไปยังถนนและไหลไปสู่บ่อบำบัดน้ำเสียนอกกำแพงเมือง







              


 แผนที่ส่วนที่เป็นป้อมปราการของเมืองโมเหนโจ-ดาโร แสดงให้เห็นถึงแบบอย่างการจัดการอาคารและถนน
 ตราประทับของเมืองฮารัปปา
มีข้าง (บน) แรดอินเดีย (กลาง) และวัวแขก (ล่าง)
วัฒนธรรมฮารัปปา
วัฒนธรรมฮารัปปาได้แพร่กระจายไปทั่วลุ่มแม่น้ำสินธุ เหมือนกับอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเกษตรกรรม สิ่งประดิษฐ์ก็ช่วยอธิบายบางแง่มุมของวัฒนธรรม

ภาษา  วัฒนธรรมฮารัปปาเหมือนกับอารยธรรมของลุ่มแม่น้ำอีกสองแห่ง (คืออียิปต์กับเมโสโปเตเมีย) มีการพัฒนาภาษาเขียน ในทางตรงกันข้ามกับอักษรคูนิฟอร์มและอักษรไฮเออโรกลีฟ ภาษาฮารัปปาไม่สามารถจะถอดรหัสได้ ข้อนี้เป็นเพราะนักภาษาศาสตร์ยังไม่พบจารึกใด ๆ ที่มีสองภาษาเหมือนกับอีกสองภาษา  ภาษาฮารัปปา ถูกค้นอยู่บนตราประทับที่ทำจากหินแกะสลักใช้สำหรับการซื้อขาย เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องมือ  สัญลักษณ์ประมาณ 400 สัญลักษณ์ สร้างขึ้นเป็นภาษา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสัญลักษณ์เหมือนกับอักษรไฮเออโรกลีฟของอียิปต์ ใช้เป็นทั้งภาษารูปภาพและเป็นเสียงทางสัทศาสตร์ สัญลักษณ์บางอย่างอยู่โดดเดียวและสัญลักษณ์อื่น ๆ ดูเหมือนจะรวมกันเป็นคำพูด

วัฒนธรรม  เมืองฮารัปปา แสดงความเป็นเอกภาพอย่างโดดเด่นในด้านศาสนาและวัฒนธรรม สิ่งก่อสร้างบอกเป็นนัยว่า การแบ่งแยกทางสังคมมีไม่มาก สิ่งประดิษฐ์ เช่น ของเล่นเด็กที่ทำขึ้นจากดินและไม้ บอกเป็นนัยว่า เป็นสังคมที่ค่อนข้างเจริญรุ่งเรือง ที่ สามารถจับจ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็นได้ อาวุธสงครามค้นพบได้ไม่มาก บอกเป็นนัย ๆ ความขัดแย้งมีขอบเขตจำกัด
การปรากฏขึ้นของภาพสัตว์บนสิ่งประดิษฐ์ประเภทต่าง ๆ เป็นอันมาก บอกเป็นนัยว่า สัตว์มีส่วนสำคัญทางวัฒนธรรม จะเห็นสัตว์บนเครื่องปั้นดินเผา รูปปั้นขนาดเล็ก ของเล่นเด็กและตราประทับที่ใช้เป็นเครื่องหมายสินค้าสำหรับค้าขาย รูปภาพได้ให้ข้อมูลแก่นักโบราณคดีว่ามีสัตว์อยู่ในภูมิภาคนี้ แต่ตราประทับบางอย่าง จะวาดภาพสัตว์เพียงบางส่วนต่าง ๆ กันมากมาย ตัวอย่างเช่น ศีรษะมนุษย์ งาและงวงช้าง เขาวัวและสะโพกของเสือ  ความหมายของภาพเหล่า ก็เหมือนกับในกรณีของภาษาฮารัปปัน คือยังคงเป็นปริศนาอยู่

บทบาทของศาสนา  นักปกครองของอารยธรรมฮารัปปาก็เหมือนกับวัฒนธรรมอื่น ๆ คือ ได้รับความเชื่อถือว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนา นักโบราณคดีคิดว่าวัฒนธรรมเป็นเทวาธิปไตย (theocracy) แต่สถานที่ตั้งของวิหารหาไม่พบ นักบวชน่าจะสวดอธิษฐานเพื่อการเก็บเกี่ยวที่ดีและความปลอดภัยจากน้ำท่วม วัตถุมงคลทางศาสนาแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมฮินดูสมัยใหม่ รูปภาพแสดงถึงสิ่งที่อาจจะเป็นตัวแทนในช่วงต้นของพระอิศวร ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่สำคัญ  รูปภาพอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับแม่เทพธิดา ภาพความอุดมสมบูรณ์ และการบูชาวัวตัวผู้ รูปภาพทั้งหมดเหล่านี้ต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมอินเดีย

การค้าขาย  ชาวฮารัปปาดำเนินการค้าขายเจริญรุ่งเรืองกับประชาชนในท้องถิ่น ทองและเงินมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือในอัฟกานิสถาน หินสังเคราะห์จากเปอร์เซียและที่ราบสูงแดกกัน เอามาสร้างเป็นเครื่องประดับ  ลุ่มแม่น้ำสินธุได้จัดสรรแนวทางการขนส่งที่ดีเลิศสำหรับการค้าขายสินค้า ผ้าฝ้ายสีสดใสเป็นสิ้นค้าที่ชื่นชอบ เนื่องจากประชาชนในเวลานั้นรู้จักวิธีการปลูกฝ้ายเป็นส่วนน้อย เส้นทางบกขนย้ายสินค้าจากเปอร์เซียไปสู่ทะเลแคสเปียน
แม่น้ำสินธุเชื่อมโยงไปยังทะเล การเชื่อมโยงนี้ทำให้คนที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุพัฒนาการค้ากับประชาชนที่อยู่ห่างไกล รวมทั้งชาวเมโสโปเตเมีย  บางที ตราประทับที่พ่อค้าชาวลุ่มแม่น้ำสินธุใช้เพื่อระบุสินค้าของพวกเขา ถูกค้นพบในแคว้นซูเมอร์ เรือทะเลขนาดใหญ่ใช้เส้นทางการค้าขายอ่าวเปอร์เซียเพื่อขนทองแดง ไม้ อัญมณีและสินค้าหรูหราไปยังแคว้นซูเมอร์ การซื้อขายเริ่มขึ้นเมื่อช่วงต้นตรงกับ 2600 ปีก่อนคริสตกาลและต่อเนื่องจนถึง 1800 ปีก่อนคริสตกาล

วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุล่มสลาย
ประมาณ 1750 ปีก่อนคริสตกาล คุณภาพของอาคารในเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำสินธุก็เสื่อมลง เมืองใหญ่ก็ค่อย ๆ ตกอยู่ความทรุดโทรม ชะตากรรมของเมืองยังคงเป็นปริศนา จนถึงทศวรรษที่ 1970  จากนั้น ภาพถ่ายจากดาวเทียมของอนุทวีปอินเดียก็เปิดเผยหลักฐานของการเปลี่ยนแปลงในแผ่นเปลือกโลก การเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลก น่าจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวและน้ำท่วม ตลอดจนมีการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำสินธุ
เมืองบางเมืองตามแม่น้ำเห็นได้ชัดว่าได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติเหล่านี้และอยู่รอดมาได้ เมืองอื่น ๆ ที่ถูกทำลาย การเปลี่ยนแปลงอาจทำให้แม่น้ำอีกสายหนึ่ง คือ สรัสวดี (Sarswati) เหือดแห้ง การค้าขายในแม่น้ำสายนี้ทำไม่ได้และหลายเมืองเริ่มล่มสลาย การเกษตรของชาวฮารัปปาอาจจะได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย อาจเป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ป้องกันไม่ให้มีการผลิตอาหารในปริมาณมาก นอกจากนี้ การเกษตรของชาวฮารัปปา อาจได้รับความเดือดร้อนอันเป็นผลมาจากดินที่เสื่อมสภาพจากการใช้มากเกินไป ข้อนี้ก็อาจจะบังคับให้คนออกจากเมืองเพื่อมีชีวิตอยู่รอด





รูปปั้นที่มีหนวดเครานี้ คือเทพเจ้าของเมืองฮารัปปา หรือบางที่อาจจะเป็นกษัตริย์-นักบวช




วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การเดินท่อน้ำในเมือโมเหนโจ-ดาโร
นับตั้งเวลาที่ผู้คนเริ่มอาศัยอยู่ในเมือง พวกเขาได้เผชิญหน้ากับปัญหาของการประปา: มนุษย์จะได้รับน้ำสะอาดและถ่ายระบายน้ำเสียได้อย่างไร? ในเมืองที่เก่าแก่ที่สุด ผู้คนนำน้ำมาจากแม่น้ำหรือบ่อน้ำที่เป็นศูนย์กลาง พวกเขาทิ้งของเสียลงไปในร่องระบายน้ำที่เปิดไว้หรือขนออกไปทิ้งนอกเมือง เฉพาะเศรษฐีเท่านั้นที่มีห้องอาบน้ำแยกจากกันในบ้านของตนเอง
ในทางตรงกันข้าม ผู้คนในลุ่มน้ำสินธุ ได้สร้างระบบน้ำประปาขึ้นอย่างกว้างขวางและมองดูทันสมัย  ในเมืองโมเหนโจ-ดาโร เกือบทุกบ้านมีห้องน้ำและห้องสุขา เป็นส่วนตัว ไม่มีอารยธรรมอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จในระดับความสะดวกสบายแบบนี้ จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 และ 20 ห้องน้ำสร้างขึ้นจากอิฐอย่างเรียบร้อย มีที่นั่งทำด้วยไม้ ท่อเชื่อมต่อกับบ้านแต่ละหลัง นำน้ำเสียเข้าสู่ระบบท่อระบายน้ำใต้ดิน