แปลจาก...Word History ของ McDougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

พีระมิดแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์

พีระมิดแห่งลุ่มน้ำไนล์
มองไปทางทิศตะวันตกของดินแดนประจันทร์เสี้ยว ในทวีปแอฟริกา มีแม่น้ำอีกสายหนึ่งที่เป็นมรรคานำไปสู่ทะเล ในขณะที่อารยธรรมซูเอร์กำลังเจริญรุ่งเรือง มีดินแดนที่กำลังเจริญรุ่งเรืองแบบเดียวกันนั้นตามฝั่งแม่น้ำสายนี้ คือ แม่น้ำไนล์ (Nile) ในประเทศอียิปต์ อีกประการหนึ่ง อารยธรรมอียิปต์กลับกลายเป็นอารยธรรมที่แตกต่างจากการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของนครรัฐในเมโสโปเตเมีย ในช่วงต้น อียิปต์รวมเป็นอาณาจักรเดียวซึ่งทำให้อียิปต์พอใจกับความเป็นเอกภาพ ความมั่นคงและความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมในช่วง 3,000 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง
ภูมิศาสตร์ของอียิปต์
จากที่ราบสูงของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แม่น้ำไนล์ไหลไปทางทิศเหนือข้ามทวีปแอฟริกา ยาวกว่า 4,100 ไมล์ (ประมาณ 6,597 กิโลเมตร ยาวที่สุดในโลก) จึงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก ลำน้ำเรียวเล็กในดินแดนทะเลทรายอันแห้งแล้ง  เป็นแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่นำน้ำจากภูเขา ที่ราบอันห่างไกล และทะเลสาบในบุรุนดี แทนซาเนีย ยูกันดาและเอธิโอเปียในปัจจุบัน ไปยังอียิปต์
การตั้งถิ่นฐานของชาวอียิปต์เกิดขึ้นตามแม่น้ำไนล์บนที่ดินอันคับแคบ ซึ่งอุดมสมบูรณ์เพราะมีแม่น้ำ การเปลี่ยนแปลงจากดินที่อุดมสมบูรณ์ไปเป็นทะเลทราย จากแผ่นดินสีดำไปเป็นแผ่นดินสีแดง เกิดขึ้นในทันทีทันใด จนกระทั่งคนคนหนึ่งสามารถยืนด้วยเท้าข้างหนึ่งได้ในแต่ละครั้ง
ของขวัญจากแม่น้ำไนล์  เนื่องจากในเมโสโปเตเมีย น้ำไหลหลากเป็นประจำทุกปี ได้พัดพาน้ำและดินที่อุดมสมบูรณ์ทำให้การตั้งหลักแหล่งเจริญรุ่งเรือง ทุก ๆ ปีในเดือนกรกฎาคม ฝนและหิมะละลายจากภูเขาทางแอฟริกาตะวันออก ทำให้แม่น้ำไนล์สูงขึ้นและไหลล้นฝั่ง  เมื่อแม่น้ำลดลงในเดือนตุลาคมก็ทิ้งโคลนสีดำที่อุดมสมบูรณ์ที่เรียกว่าตะกอนทับถมไว้ข้างหลัง
ก่อนที่ดวงอาทิตย์อันแผดจ้าจะเผาดินจนแห้งแล้ง เกษตรกรจะจัดเตรียมการทำนาข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์  ตลอดฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว พวกเขารดน้ำพืชผลของพวกเขาจากเครือข่ายของคูน้ำชลประทาน
อีกประการหนึ่ง ในดินแดนที่แห้งแล้ง  มีความอุดมสมบูรณ์อันเกิดจากแม่น้ำไนล์ยิ่งใหญ่มากจนกระทั่งชาวอียิปต์บูชาแม่น้ำนั้นให้เป็นเทพเจ้าผู้ประทานชีวิตและไม่ค่อยจะหันหลังให้กับพวกเขา ในขณะที่เฮอรอโดทัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ได้ตั้งข้อคิดเห็นไว้ในศตวรรษที่สิบห้าก่อนคริสตกาลว่า อียิปต์ คือ "ของขวัญจากแม่น้ำไนล์ -  gift of the Nile"
ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม  เกษตรกรชาวอียิปต์มีโชคดีมากกว่าชาวบ้านเมโสโปเตเมีย เมื่อเทียบกับแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสที่คาดเดาไม่ได้ แม่น้ำไนล์มีความสม่ำเสมอพอ ๆ กับการทำงานของนาฬิกา แม้กระนั้น ชีวิตในอียิปต์ก็ยังมีความเสี่ยง  นั่นคือ
เมื่อแม่น้ำไนล์ที่ไหลหลากลดลงต่ำกว่าปกติเพียงสองสามฟุต ปริมาณของตะกอนสดและน้ำสำหรับพืชก็ลดลงอย่างมาก ผู้คนนับพันก็กิดความหิวโหย
•  เมื่อน้ำท่วมสูงขึ้นกว่าปกติสองสามฟุต น้ำที่ไม่พึงประสงค์ ก็ทำลายบ้านเรือน ยุ้งข้าว และเมล็ดพืชอันมีค่าที่เกษตรกรเก็บไว้เพาะปลูก
ในทะเลทรายอันกว้างใหญ่และน่ากลัว ในแต่ละด้านของแม่น้ำไนล์ทำหน้าที่เป็นเขตแดนทางธรรมชาติระหว่างอียิปต์และดินแดนอื่น ทะเลทรายเหล่านั้นบังคับให้ชาวอียิปต์อาศัยอยู่ในส่วนเล็ก ๆ ของแผ่นดินและลดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายก็ปิดทางผู้มารุกราน สำหรับประวัติศาสตร์ของอียิปต์ในตอนต้น ไม่มีการสู้รบอย่างต่อเนื่องอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวเลย
อียิปต์ตอนบนและตอนล่าง สังคมอียิปต์โบราณอาศัยอยู่ตามแม่น้ำไนล์ตั้งแต่ปากทะเลเข้าไปภายในแผ่นดินทวีปแอฟริกา การเดินทางตามแม่น้ำเป็นเรื่องธรรมดา แต่จะสิ้นสุดลงที่จุดในแม่น้ำไนล์ตรงที่มีก้อนหินใหญ่ที่ทำให้แม่น้ำคดเคี้ยวเข้าไปในน้ำเชี่ยว ซึ่งเรียกว่า น้ำตกที่สูงชัน (cataract)  ตรงนี้เองที่จะทำให้เรือวิ่งผ่านไปไม่ได้ เป็นน้ำตกที่สูงชันด่านแรก ในการเดินทางต่อไปยังต้นน้ำทางทิศใต้เข้าสู่ภายในของทวีปแอฟริกา
ระหว่างน้ำตกสูงชันแห่งแรกกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจัดวางภูมิภาคอันแตกต่างกันมาก 2 แห่งได้เหมาะสมมาก เนื่องจากความสูงของน้ำตกจะสูงกว่า บริเวณแม่น้ำในตอนใต้จะเรียกว่า  อียิปต์ตอนบน เป็นแนวแผ่นดินที่แคบตั้งแต่น้ำตกอันสูงชันแห่งแรกไปยังจุดที่แม่น้ำเริ่มแยกออกจากกันหลายสาขา ทางด้านทิศเหนือใกล้ทะเล เป็นอียิปต์ตอนล่างรวมถึงบริเวณภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเริ่มขึ้นประมาณ 100 ไมล์ก่อนที่แม่น้ำจะไหลเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ คือ บริเวณดินแดนสามเหลี่ยม กว้างขวาง เป็นแอ่งน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นจากการทับถมของโคลนดินตะกอนที่ปากแม่น้ำ
          แม่น้ำไนล์จัดระบบการขนส่งที่เชื่อถือได้ระหว่างอียิปต์บนและล่าง แม่น้ำไนล์ไหลไปทางทิศเหนือ ดังนั้น เรือที่อยู่ทางเหนือจึงลอยไปกับสายน้ำได้อย่างง่าย ๆ เรือที่อยู่ทางใต้จะยกใบแผ่กว้าง ลมแน่ทิศของอียิปต์จะพัดจากเหนือจรดใต้ พาเรือใบไปตามสายน้ำในแม่น้ำ ความสะดวกในการติดต่อตามการขนส่งทางน้ำนี้ ช่วยชุมชนอียิปต์รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและส่งเสริมการค้า





แผนที่อียิปต์โบราณ
แผนที่อียิปต์โบราณ
อียิปต์รวมเป็นราชอาณาจักร
ชาวอียิปต์อาศัยอยู่ในหมู่บ้านการเกษตร ย้อนไปไกลถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล บางทีอาจจะอยู่ในยุคแรกเสียด้วยซ้ำ แต่ละหมู่บ้านมีพิธีกรรม เทพเจ้า และประมุขเป็นของตัวเอง ประมาณ 3200 ปี ก่อนคริสตกาล หมู่บ้านอียิปต์อยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักร 2 แห่ง ซึ่งแยกต่างหากจากกัน คืออียิปต์ตอนล่างและอียิปต์ตอนบน ในที่สุด ราชอาณาจักรทั้งสองก็รวมกันเป็นปึกแผ่น มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ขัดแย้งกันว่าใครคือผู้รวบรวมอียิปต์ตอนบนและตอนล่างเข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น หลักฐานบางแห่งบอกว่า กษัตริย์ ชื่อ Scorpion (ราชาแมงป่อง) หลักฐานที่เชื่อถือมากกว่า บอกว่า เป็นกษัตริย์ ชื่อ นาร์เมอร์ (Narmer)
กษัตริย์ของอียิปต์ตอนล่างสวมมงกุฎสีแดงและกษัตริย์ของอียิปต์ตอนบนสวมมงกุฎสีขาวสูงรูปร่างเหมือนกับโบว์ลิ่งพิน (bowling pin) ชิ้นส่วนของกระดานชนวนแกะสลัก ซึ่งเรียกว่า Narmer Palette แสดงให้เห็นว่า กษัตริย์ Narmer สวมมงกุฎของอียิปต์ตอนล่างอยู่ด้านเดียวและมงกุฎของกษัตริย์อียิปต์ตอนบนอยู่อีกด้านหนึ่ง นักวิชาการบางพวกเชื่อว่า แผ่นหินเป็นการเฉลิมฉลองความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอียิปต์ เมื่อประมาณ 3000 ปี ก่อนคริสตกาล
กษัตริย์ Narmer ได้สร้างมงกุฎคู่จากมงกุฎสีแดงและสีขาว เป็นสัญลักษณ์แห่งการรวมตัวของราชอาณาจักร พระองค์ทรงตั้งเมืองหลวงของพระองค์อย่างชาญฉลาด คือ เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดที่อียิปต์ตอนบนและตอนล่างมาบรรจบกันและสถาปนาราชวงศ์อียิปต์เป็นราชวงศ์แรก ในที่สุด ประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ อาจจะประกอบด้วยราชวงศ์ 31 ราชวงศ์ ซึ่งสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลา 2,600 ปี นักประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบสำหรับอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของอียิปต์ตั้งขึ้นในช่วงระยะเวลา 3200 - 2700 ปี ก่อนคริสตกาล ระยะเวลาตั้งแต่ 2660 - 2180 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า อาณาจักรเก่า (Old Kingdom) นับเป็นช่วงเวลาที่รูปแบบเหล่านี้เป็นที่แพร่หลาย
ฟาโรห์ปกครองในฐานะเป็นเทพเจ้า การปกครองของกษัตริย์มีความแตกต่างที่โดดเด่นเป็นหนึ่งเดียวระหว่างอียิปต์กับเมโสโปเตเมีย ในเมโสโปเตเมีย กษัตริย์ถือว่าเป็นตัวแทนของเทพเจ้า แต่ในอียิปต์ถือว่าเป็นเทพเจ้า กษัตริย์ที่เป็นเทพเจ้าของอียิปต์ ซึ่งเรียกว่า ฟาโรห์ (pharaohs) เกือบจะยอดเยี่ยมและทรงพลานุภาพเท่ากับเทพเจ้าบนสวรรค์ การปกครองแบบนี้เป็นการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากผู้มีอำนาจทางศาสนา เรียกว่า เทวาธิปไตย (theocracy)
ฟาโรห์เป็นศูนย์กลางของศาสนาของอียิปต์เช่นเดียวกับการปกครองและกองทัพ ชาวอียิปต์เชื่อว่าฟาโรห์เบื่อความรับผิดชอบอย่างเต็มที่สำหรับความผาสุกของราชอาณาจักร ฟาโรห์ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้น ทำให้แม่น้ำไนล์ไหลท่วม และทำให้พืชเจริญเติบโต มันเป็นหน้าที่ของฟาโรห์ที่จะส่งเสริมความจริงและความยุติธรรม


ผู้สร้างพีระมิด  ชาวอียิปต์เชื่อว่ากษัตริย์ของพวกเขายังปกครองอยู่แม้หลังจากตายแล้ว พระองค์มีพลังชีวิตนิรันดร์หรือ ka ซึ่งยังคงมีส่วนร่วมในการปกครองอียิปต์ต่อไป ในใจของชาวอียิปต์ ka  ยังคงเหมือนกับกษัตริย์ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่มากในความต้องการและความพึงพอใจ  เนื่องจาก กษัตริย์มีความคาดว่าจะปกครองตลอดไป สุสานของพระองค์ ยิ่งมีความสำคัญมากกว่าพระราชวังของพระองค์เสียอีก สำหรับกษัตริย์ของราชอาณาจักรเก่า พระราชวังสำหรับพักผ่อนหลังจากสวรรคตแล้วเป็นโครงสร้างอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า พีระมิด (pyramid)  ราชอาณาจักรเก่าเป็นยุคที่ยิ่งใหญ่แห่งการสร้างพีระมิดในอียิปต์โบราณ
อนุสาวรีย์อันสง่างามเหล่านี้ คือความสำเร็จทางด้านวิศวกรรมที่น่าทึ่ง สร้างขึ้นโดยผู้คนผู้ที่ไม่ได้ใช้แม่แต่ล้อราก อย่างไรก็ตาม ชาวอียิปต์ แตกต่างจากชาวสุเมเรียน มีวัสดุที่เป็นหินอย่างดี ทั้งหินแกรนิตและหินปูน ตัวอย่างเช่น สำหรับมหาพีระมิดแห่งกิซา (Giza)   ชั้นพื้นผิวนอกของหินปูน ถูกทิ้งร้างทั่วแม่น้ำไนล์ ก้อนที่ถูกตัดอย่างสมบูรณ์แบบแต่ละก้อน ชั่งน้ำหนักได้อย่างน้อย 2 ตันครึ่ง บางก้อน ชั่งน้ำหนัก 15 ตัน ก้อนหินเหล่านี้มีมากกว่า 2 ล้านก้อน กองซ้อนทับกันอย่างพิถีพิถัน สูงถึง 481 ฟุต โครงสร้างทั้งหมดครอบคลุมมากกว่า 13 เอเคอร์
พีระมิดยังสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของอารยธรรมอียิปต์  และแสดงให้เห็นว่า ราชวงศ์แห่งราชอาณาจักรเก่ามีการพัฒนาความแข็งแรงทางเศรษฐกิจและวิธีการทางเทคโนโลยีมาสนับสนุนโครงการการทำงานของประชาชนขนาดใหญ่  การเป็นผู้นำและการจัดการการปกครองที่จะทำให้โครงการเหล่านั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี





พีระมิด
พีระมิด อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นบนหลุมศพของนักปกครอง
วัฒนธรรมอียิปต์
ด้วยความโปรดปรานกับธรรมชาติเป็นอันมาก ชาวอียิปต์มีแนวโน้มที่จะเข้าใกล้ชีวิตอย่างมั่นอกมั่นใจและมองโลกในแง่ดีกว่าเพื่อนบ้านของพวกเขาในดินแดนพระจันทร์เสี้ยว ศาสนามีบทบาทสำคัญในชีวิตของชาวอียิปต์
ศาสนากับชีวิต  ชาวอียิปต์ในยุคแรก เหมือนกับชาวเมโสโปเตเมีย นับถือเทพเจ้าหลายองค์ มีความเชื่อในเทพเจ้ามากมาย เทพเจ้าที่สำคัญที่สุด คือ Re (คือสุริยเทพ หรือเทพเจ้าดวงอาทิตย์) และโอไซริส (Osiris) เทพเจ้าแห่งความตาย เทพธิดาหรือเทวีที่สำคัญที่สุด คือ ไอซิส (Isis) ซึ่งเป็นตัวแทนแม่และภรรยาในอุดมคติ ทั่วอียิปต์บูชาเทพและเทพธิดามากกว่า 2,000 องค์ พวกเขาสร้างวิหารขนาดใหญ่เพื่อเป็นเกียรติแก่เทพเจ้าที่สำคัญเหล่านั้น
ชาวอียิปต์มีมุมมองชีวิตหลังจากตายตรงกันข้ามกับชาวเมโสโปเตเมียที่มีมุมมองเกี่ยวกับความตายอย่างหมดหวัง พวกเขาเชื่อในชีวิตหลังความตาย เป็นชีวิตที่ต่อเนื่องหลังจากการเสียชีวิต  ชาวอียิปต์เชื่อว่า พวกเขาจะได้รับการตัดสินผลการกระทำของพวกเขาเมื่อพวกเขาเสียชีวิต อนูบิส (Anubis) ซึ่งเป็นเทพเจ้าและผู้นำทางไปสู่ยมโลกจะชั่งหัวใจของคนตายแต่ละคน เพื่อที่จะได้รับชีวิตนิรันดร์ หัวใจไม่ควรจะหนักกว่าขนนก ถ้าหัวใจเอียง แสดงว่ามันหนักไปด้วยบาป สัตว์ดุร้าย ที่เรียกว่า  Devourer of Souls (ตัวเขมือบวิญญาณ) จะโผเข้าหาหัวใจที่ไม่บริสุทธิ์และกลืนกินอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าจิตวิญญาณผ่านการทดสอบเพื่อความบริสุทธิ์และความจริงนี้ มันจะมีชีวิตอยู่ตลอดไปในโลกอื่นที่สวยงาม
               ผู้คนทุกชนชั้นวางแผนในการฝังศพของตนเองเพื่อให้ตนเกิดในโลกหน้าได้อย่างปลอดภัย กษัตริย์และราชินีสร้าง
สุสานอย่างยิ่งใหญ่ เช่น พีระมิด และชาวอียิปต์นอกจากนั้น สร้างสุสานที่มีขนาดเล็ก ศพหลวงและชนชั้นสูงชาวอียิปต์ถูกเก็บ
รักษาไว้โดยการทำเป็นมัมมี่ (การรักษาศพไว้ไม่ให้เน่าด้วยยา)    ซึ่งเกี่ยวข้องกับการฉีดดองและการอบแห้งศพเพื่อป้องกัน
ไม่ให้เน่าเปื่อย  นักวิชาการยังคงยอมรับคำอธิบายกระบวนการทำเป็นมัมมี่ของเฮอรอโดทัสว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ชาวอียิปต์
นำมาใช้
ผู้เข้าร่วมพิธีวางมัมมี่ไว้ในโลงศพภายในหลุมฝังศพ แล้วพวกเขาก็เอาสิ่งของเครื่องใช้ที่ผู้ตายจะนำไปใช้ในโลกหน้าใส่ลงไปในหลุมศพ เช่น เสื้อผ้า อาหาร เครื่องสำอางและเครื่องประดับ  ชาวอียิปต์หลายคนซื้อม้วนหนังสือที่มีบทสวด การสวดมนต์และเวทมนตร์คาถา โดยมุ่งที่จะนำทางจิตวิญญาณในชีวิตหลังความตาย การรวบรวมตำรานี้เรียกว่า คัมภีร์มรณะ (Book of the Dead) 

คัมภีร์มรณะ
คัมภีร์มรณะ
 
ศีรษะเทพอนูบิส
ศีรษะเทพอนูบิส