แปลจาก...Word History ของ McDougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

ภูมิศาสตร์และอียิปต์โบราณ/ราชอาณาจักเก่า

ภูมิศาสตร์และอียิปต์โบราณ
ของขวัญจากแม่น้ำไนล์ (The Gift of the Nile)
ภูมิศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมอียิปต์ แม่น้ำไนล์ได้นำชีวิตมาให้อียิปต์ แม่น้ำแม่ความสำคัญมากต่อประชาชนในภูมิภาคนี้ซึ่งเฮอรอโดทัส (Herodotus) เรียกอียิปต์ว่า ของขวัญจากแม่น้ำไนล์
ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก เริ่มต้น ณ ใจกลางทวีปแอฟริกาและไหลไปทางเหนือ 4,000 ไมล์ (ประมาณ 6,000 กิโลเมตร) สู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อารยธรรมอียิปต์พัฒนาไปตามแม่น้ำไนล์ยาว 750 ไมล์ ในแอฟริกาตอนเหนือ
อียิปต์โบราณมีสองภูมิภาค คือ ภูมิภาคตอนใต้และตอนเหนือ ภูมิภาคตอนใต้ เรียกว่า อียิปต์ตอนบน (Upper Egypt)  ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเนื่องจากตั้งอยู่ทางต้นน้ำเกี่ยวข้องกับการไหลของแม่น้ำไนล์  อียิปต์ตอนล่าง (Lower Egypt) คือภูมิภาคตอนเหนือ ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำ แม่น้ำไนล์ไหลผ่านทะเลของอียิปต์ตอนบน ณ ที่ตรงนั้นได้ก่อให้เกิดเป็นลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์กว้างประมาณ 13 ไมล์ อีกด้านหนึ่งของแม่น้ำไนล์ทอดไปตามทะเลทรายอันเวิ้งว้างหลายพันไมล์
ดูแผนที่ด้านล่าง ไหลผ่านโขดหิน พื้นดินอันเป็นหุบเขาทางตอนใต้ของอียิปต์ ในที่หลายจุด ภูมิประเทศนี้ทำให้เกิดน้ำตกสูงชันขนาดใหญ่ (cataract) หรือส่วนของแม่น้ำที่มีน้ำไหลแรงและเร็วก่อตัวขึ้น น้ำตกสูงชันแหงแรก ไปทางตอนใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 720 ไมล์ เป็นเขตแดนของอียิปต์ตอนบน น้ำตกสูงชันอีกห้าแห่งทอดยาวไปไกลทางตอนใต้ น้ำตกที่ไหลแรงและเร็วเหล่านี้ทำให้การแล่นเรือบางส่วนของแม่น้ำไนล์ยากมาก
ในอียิปต์ตอนล่าง แม่น้ำไนล์แบ่งออกเป็นหลายสาขากระจัดกระจายออกและไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สาขาเหล่านี้ก่อตัวขึ้นเป็น สามเหลี่ยม (delta) คือพื้นที่ที่เป็นรูปพื้นดินสามเหลี่ยมที่แม่น้ำได้ทิ้งดินไว้  ในครั้งโบราณ หนองน้ำและบึงได้ครอบคลุมสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์เป็นจำนวนมาก

กระแสน้ำท่วมของแม่น้ำไนล์
เนื่องจากมีฝนตกน้อยมาก อียิปต์ส่วนมากจึงเป็นทะเลทราย แต่อย่างไรก็ตาม แต่ละปี ฝนที่ตกไกลไปทางตอนใต้ของอียิปต์ในบริเวณพื้นที่สูงของแอฟริกาตะวันออกทำให้แม่น้ำไนล์เกิดการไหลท่วม การไหลท่วมของแม่น้ำไนล์คาดคะเนได้ง่ายกว่าแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสในเมโสโปเตเมีย เกือบทุก ๆ ปี แม่น้ำไนล์จะไหลท่วมอียิปต์ตอนบนในกลางฤดูร้อนและไหลท่วมอียิปต์ตอนล่างในฤดูใบไม้ร่วง ทำให้แผ่นดินรอบ ๆ แม่น้ำเต็มไปด้วยโคลนที่อุดมสมบูรณ์
โคลนจากแม่น้ำไนล์ทำให้ดินเหมาะสมสำหรับทำเกษตรกรรม โคลนยังทำให้พื้นดินมีสีดำมืด นั่นเป็นสาเหตุที่ชาวอียิปต์เรียกประเทศของตนเองว่า แผ่นดินตำ (the black land) และเรียกทะเลทรายที่แห้งแล้ง ไร้สิ่งมีชีวิต ที่อยู่ไกลออกไปจากลุ่มแม่น้ำว่า แผ่นดินแดง (the red land)
ในแต่ละปีชาวอียิปต์จะรอคอยกระแสน้ำท่วมอย่างกระตือรือร้น สำหรับชาวอียิปต์แล้ว กระแสน้ำท่วมคือสิ่งมหัศจรรย์ที่ประทานชีวิต เมื่อปราศจากกระแสน้ำท่วมแล้ว จะไม่มีประชาชนตั้งหลักแหล่งในอียิปต์เลย

อารยธรรมวิวัฒนาการตามลุ่มแม่น้ำไนล์
กลุ่มชนเร่ร่อนล่าสัตว์หาอาหารได้อพยพเข้าไปสู่ลุ่มแม่น้ำไนล์มากกว่า 12,000 ปีมาแล้ว พวกเขาได้ค้นพบพืช สัตว์ป่า และปลา ณ ที่นั่นเพื่อเป็นอาหาร ในไม่ช้า ประชาชนเหล่านี้ก็ได้เรียนรู้วิธีทำเกษตรกรรม และก็ได้ตั้งหลักแหล่งตามแม่น้ำไนล์เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ
เกษตรกรในอียิปต์ก็ได้พัฒนาระบบชลประทานเช่นเดียวกับในเมโสโปเตเมีย พวกเขาได้สร้างอ่างน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ในช่วงเวลาที่น้ำหลากและกักเก็บทัรพยากรอันล้ำค่านี้ไว้ให้นานภายหลังจากฤดูน้ำหลาก  พวกเขายังได้สร้างคลองเป็นชุด ๆ ซึ่งสามารถใช้ได้ในเดือนแล้งเพื่อนำน้ำจากอ่างน้ำไปยังทุ่งนาตามต้องการ

แม่น้ำไนล์ได้จัดหาอาหารที่อุดมสมบูรณ์มาให้เกษตรกรชาวอียิปต์ในยุคแรก เกษตรกรได้ปลูกขาวสาลี บาร์เลย์ ผลไม้และผัก ตลอดจนเลี้ยงปศุสัตว์และแกะ แม่น้ำยังให้ปลาหลายชนิด และนักล่าก็วางกับดักจับห่านและเป็ดป่าตามฝั่งแม่น้ำ  ชาวอียิปต์ก็เหมือนกับชาวเมโสโปเตเมียเพลิดเพลินกับอาหารหลากหลายชนิด
นอกจากมีอาหารที่มั่นคงแล้ว ลุ่มแม่น้ำไนล์ก็ได้ให้ความได้เปรียบที่มีคุณค่าอีกประการหนึ่ง นั่นคือแนวเขตแดนทางธรรมชาติซึ่งทำให้อียิปต์รุกรานได้ลำบาก ทะเลทรายทางตะวันตกก็กว้างใหญ่มากและเดินทางได้ลำบากยากเย็น ทางตอนเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็ทำให้ห่างไกลจากศัตรู ทะเลแดงก็ป้องกันการรุกรานด้วย น้ำตกที่สูงชันและไหลเชี่ยวในแม่น้ำไนล์ทำให้คนภายนอกแล่นเรือมาจากทางตอนใต้ได้แสนยากลำบาก
เมื่อได้รับการป้องกันจากผู้รุกราน หมู่บ้านของอียิปต์จึงเจริญรุ่งเรือง เกษตรกรผู้มั่งคั่งก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำหมู่บ้านและเป็นผู้นำที่เข้มแข็งปกครองหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน  เมื่อประมาณ 3,200 ปี ก่อนคริสตกาล หมู่บ้านก็รวมกลุ่มเข้าด้วยกันและพัฒนาเป็นราชอาณาจักรสองราชอาณาจัก คือ ราชอาณาจักรหนึ่ง เรียกว่า อียิปต์ตอนล่าง (Lower Egypt) อีกราชอาณาจักรเรียกว่า อียิปต์ตอนบน (Upper Egypt)

กษัตริย์รวบรวมอียิปต์เป็นเอกภาพ
กษัตริย์ของอียิปต์ตอนล่าง ปกครองตั้งแต่เมืองที่เรียกว่า เป (Pe) พระองค์จะสวมมุงกุฎสีแดงเป็นสัญลักษณ์อำนาจของพระองค์ นีเคน (Nekhen) เป็นเมืองหลวงของอียิปต์ตอนบน ในราชอาณาจักรนี้ กษัตริย์จะสวมมงกุฎสีขาวมีรูปร่างเป็นทรงกรวย
ราวประมาณ 3100 ปี ก่อนคริสตกาล ผู้นำนามว่า เมเนส (Menes) ได้ขึ้นครองอำนาจในอียิปต์ตอนบน พระองค์ได้แสวงหาวิธีทางที่จะยุติว่าอะไรที่กษัตริย์ยุคแรกที่เรียกว่า แมลงป่อง (Scorpion) เริ่มขึ้น พระองค์มีพระประสงค์จะรวมอียิปต์ตอนบนและตอนล่างให้เป็นเอกภาพ
กองทัพของกษัตริย์เมเนสได้รุกรานและยึดครองอียิปต์ตอนล่าง ครั้นแล้ว กษัตริย์เมเนสก็ได้รวบรวมราชอาณาจักรทั้งสองเข้าเป็นหนึ่งเดียว พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งอียิปต์ตอนล่างเพื่อทำให้การปกครองประเทศที่เป็นเอกภาพเข้มแข็งขึ้น ในขณะที่เป็นผู้ปกครองอียิปต์ กษัตริย์เมเนสได้สวมมงกุฎสีขาวของอียิปต์ตอนบนและสีแดงของอียิปต์ตอนล่าง นี้เป็นสัญลักษณ์ความเป็นผู้นำเหนือราชอาณาจักรทั้งสอง ต่อมา พระองค์ก็รวมมงกุฎทั้งสองเป็นมงกุฎสองชั้น
นักประวัติศาสตร์ถือว่ากษัตริย์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกของอียิปต์ ซึ่งเป็นพระนามที่ผู้ปกครองอียิปต์ใช้กัน พระนามว่า Pharaoh หมายถึงความว่า “ราชวงศ์ผู้ยิ่งใหญ่” กษัตริย์เมเนส ยังได้จัดตั้งราชวงศ์แรกของอียิปต์อีกด้วย ราชวงศ์ คือ ชุดของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกัน
กษัตริย์เมเนสได้สร้างเมืองหลวงใหม่ ณ จุดปลายสุดด้านทิศใต้ของสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ ต่อมา เมืองนี้มีชื่อว่า เมมฟิส (Memphis) เมมฟิสเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและทางวัฒนธรรมของอียิปต์เป็นเวลาหลายศตวรรษ สถานที่ราชการมากมายตั้งอยู่ ณ เมืองนี้ และเมืองนี้จอแจพลุกพล่านไปด้วยกิจกรรมทางศิลปะ
         ราชวงศ์แรกดำรงอยู่เป็นเวลาประมาณ 200 ปี ฟาโรห์ที่สืบทอดมาจากกษัตริย์เมเนสยังสวมมงกุฎสองชั้นเป็นสัญลักษณ์การปกครองเหนืออียิปต์ตอนบนและตอนล่าง กษัตริย์เหล่านั้นได้ขยายดินแดนออกไปทางใต้ตามลำแม่น้ำไนล์และไปสู่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ศัตรูก็ปรากฏขึ้นมาท้าทายอำนาจราชวงศ์แรกจนได้ ผู้ท้าทายอำนาจเหล่านี้ได้เข้ายึดครองอียิปต์และก่อตั้งราชวงศ์ที่สอง



ราชอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom)
สังคมอียิปต์ยุคแรก
ราชวงศ์แรกและราชวงศ์ที่สอง ได้ปกครองอียิปต์มาเป็นเวลาประมาณ 4 ศตวรรษ เมื่อประมาณ 2700 ปี ก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ที่สามได้ขึ้นสู่อำนาจ การปกครองของราชวงศ์นี้เริ่มขึ้นสมัยราชอาณาจักรเก่า (Old Kingdom) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประวัติศาสตร์อียิปต์ดำรงอยู่ยืนยาวตั้งแต่ประมาณ 2700 ปี ก่อนคริสตกาล ถึง 2200 ปี ก่อนคริสตกาล

การปกครองโดยฟาโรห์
ในช่วงเวลาแห่งราชอาณาจักรเก่า ชาวอียิปต์ยังดำเนินการพัฒนาระบบทางการเมืองต่อไป ระบบนี้ตั้งบนพื้นฐานความเชื่อว่า ฟาโรห์เป็นทั้งกษัตริย์และเทพเจ้า
ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า อียิปต์เป็นของเทพเจ้า พวกเขาเชื่อว่า ฟาโรห์เสด็จลงมาสู่โลกเพื่อปกครองอียิปต์เป็นตัวแทนเทพเจ้า อันเป็นผลให้กษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือดินแดนและประชาชนทั้งหมดในอียิปต์ แต่สถานะของฟาโรห์ในฐานะเป็นเทพเจ้าจะมากับความรับผิดชอบมากมาย ประชาชนจะตำหนิพระองค์ ถ้าพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์หรือถ้าเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น พวกเขายังมีความต้องการว่า ฟาโรห์จะทำให้การค้าขายมีผลิตที่ดีและป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม
ในช่วงเวลาแห่งราชอาณาจักรเก่า หน้าที่ของฟ้าโรห์เจริญรุ่งเรือง เพื่อช่วยให้หน้าที่เหล่านี้บรรลุผลสำเร็จ ฟาโรห์ได้ว่าจ้างข้าราชการ ข้าราชการส่วนมากมาจากครอบครัวของฟาโรห์
ฟาโรห์ผู้มีชื่อเสียงที่สุดแห่งราชอาณาจักรเก่า คือ ฟาโรห์คูฟู (Khufu) ผู้ซึ่งปกครองในช่วงศตวรรษที่ 2500 ก่อนคริสตกาล ตำนานของขาวอียิปต์กล่าวไว้ว่า พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ดุร้าย แต่บันทึกทางประวัติศาสตร์บอกให้พวกเราทราบว่า ประชาชนที่ทำงานให้พระองค์ได้รับการดูแลเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ฟาโรห์คูฟูเป็นที่ทราบกันอย่างดีในเรื่องอนุสาวรีย์ที่ทรงสร้างไว้สำหรับพระองค์

โครงสร้างทางสังคม
เมื่อประมาณ 2200 ปี ก่อนครสิตกาล อียิปต์มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน ฟาโรห์อยู่บนยอดสุดของสังคมอียิปต์ อยู่ใต้ฟาโรห์ลงมา คือคนชั้นสูง ซึ่งรวมทั้งนักบวชและข้าราชการคนสำคัญ ในบรรดานักบวชและข้าราชการมากมายเหล่านี้ ถือว่าเป็นคนชั้นสูง หรือผู้คนที่มาจากครอบครัวที่ร่ำรวยและมีอำนาจ
ด้านล่างคนชั้นสูงคือชนชั้นกลางที่เป็นข้าราชการ อาลักษณ์ ช่างฝีมือ และพ่อค้า ซึ่งมีน้อยกว่า ชนชั้นต่ำของอียิปต์ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ส่วนมากเป็นเกษตรกร ในช่วงฤดูน้ำหลาก เมื่อพวกเขาไม่สามารถทำนาได้ เกษตรกรจะทำงานในโครงการก่อสร้างของฟาโรห์ ด้านล่างเกษตรกรในการจัดระเบียบสังคมจะเป็นทาสและคนรับใช้

อียิปต์และเพื่อนบ้าน
แม้ว่าจะได้รับการป้องกันเป็นอย่างทางด้านภูมิศาสตร์ อียิปต์ก็ไม่ได้แยกตัวอยู่โดดเดี่ยว วัฒนธรรมอื่น ๆ ก็ยังมีอิทธิพลต่ออียิปต์เป็นเวลาหลายศตวรรษ ยกตัวอย่างเช่น แบบแผนของชาวสุเมเรียนก็ค้นพบได้ในศิลปะของอียิปต์ เครื่องปั้นดินเผาของอียิปต์ยังสะท้อนให้เห็นรูปแบบความนิยมจากนูเบีย ซึ่งเป็นภูมิภาคทางตอนใต้ของอียิปต์
ในช่วงเวลาแห่งราชอาณาจักรเก่า อียิปต์เริ่มค้าขายกับเพื่อนบ้าน พ่อค้าเดินทางกลับจากนูเบียพร้อมด้วยทองคำ งา ทาส และหิน พ่อค้าที่เดินทางไปสู่พันต์ (Punt) ซึ่งเป็นบริเวณฝั่งทะเลแดง เพื่อให้ได้มาซึ่งกำยานและยางไม้หอมที่ทำจากไม้หลายชนิด (myrrh)  สินค้าสองรายการนี้ใช้ทำน้ำหอมและยา การค้าขายกับซีเรียทำให้อียิปต์ได้รับสินค้าจำพวกไม้

ศาสนาและการดำเนินชีวิตของชาวอียิปต์
ชาวอียิปต์โบราณมีความศรัทธาในศาสนาอย่างเข้มแข็ง การนับถือเทพเจ้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของชาวอียิปต์ ขนบธรรมเนียมทางศาสนาของชาวอียิปต์มากมายเน้นไปที่ชีวิตหลังจากสิ้นชีวิต

เทพเจ้าของอียิปต์
ชาวอียิปต์เหมือนกับชาวเมโสโปเตเมีย นับถือพหุเทวนิยม ก่อนราชวงศ์แรก หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านนับถือเทพเจ้าของตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาแห่งราชอาณาจักรเก่า ข้าราชการอียิปต์พยายามที่จะให้โครงสร้างบางประเภทให้กับศรัทธาทางศาสนา ทุก ๆ คนมีความคาดหวังว่าจะนับถือเทพเจ้าองค์เดียวกัน ดังนั้น วิธีที่ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าอาจจะแตกต่างจากศาสนาหนึ่งของอียิปต์กับอีกศาสนาหนึ่ง
ชาวอียิปต์ได้สร้างวิหารให้กับเทพเจ้าทุกองค์ทั่วราชอาณาจักร วิหารได้รวบรวมค่าใช้จ่ายจากทั้งรัฐบาลและผู้เคารพนับถือ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ทำให้วิหารมีอิทธิพลรุ่งเรืองมากขึ้น
เมื่อเวลาผ่านไป เมืองบางเมืองก็กลายเป็นศูนย์กลางการนับถือเทพเจ้าบางองค์ ยกตัวอย่าง ในเมืองเมมฟิส ประชาชนจะสวดมนต์ให้กับเทพเจ้า Ptah ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก
ชาวอียิปต์มีเทพเจ้าประจำเกือบทุก ๆ สิ่ง ควมทั้งพระอาทิตย์ ท้องฟ้า และโลก เทพเจ้ามากมายรวมกับมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้นมา ยกตัวอย่าง เทพอานูบิส (Anubis) ซึ่งเป็นเทพแห่งความตาย มีร่างกายเป็นมนุษย์แต่ศีรษะเป็นหมาใน เทพเจ้าสำคัญองค์อื่น ๆ มีดังนี้
       š เทพเร หรืออามอน-เร (Re หรือ Amon-Re เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์
            š เทพโอไซริส (Osiris) เทพเจ้าแห่งยมโลก
            š เทพีไอซิส (Isis) เทพีแห่งเวทมนต์ และ
           š เทพฮอรัส (Horus) เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าของฟาโรห์

ความสำคัญเกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้า
ศาสนาของอียิปต์ส่วนมากเน้นไปที่ชีวิตในโลกหน้า หรือชีวิตหลังความตาย ชาวอียิปต์เชื่อว่า ชีวิตหลังความตายคือสถานที่มีความสุข ภาพวาดฝาผนังจากหลุมฝังศพชาวอียิปต์แสดงให้เห็นว่า ชีวิตหลังความตาย ซึ่งเป็นโลกในอุดมคติ เป็นสถานที่ทุกคนจะเป็นหนุ่มสาวและมีสุขภาพสมบูรณ์
ศรัทธาในชีวิตหลังความตายของชาวอียิปต์กำเนิดมาจากแนวความคิดของพวกเขาที่ชื่อว่า Ka หรืออำนาจชีวิตของบุคคล ในขณะที่คนตาย Ka ของเขาหรือของหล่อนจะออกจากร่างกายและกลายเป็นวิญญาณ (หมายถึงกายทิพย์ในทางพระพุทธศาสนา วิญญาณในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความรู้ สิ่งที่รับรู้)  อย่างไรก็ตาม Ka จะยังคงเชื่อมต่อกับร่างกายและอาจจะไม่จากสถานที่ฝังศพ  Ka  มีความต้องทุกอย่างคล้ายมนุษย์ซึ่งบุคคลมีในขณะที่เขาหรือหล่อนมีชีวิตอยู่
การทำให้ Ka มีความต้องการสมบูรณ์ ผู้คนต้องใส่วัตถุเข้าไปในหลุมฝังศพให้เต็มเพื่อนำไปสู่ชีวิตหลังความตาย วัตถุเหล่านี้ มีเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า เครื่องมือ เครื่องเพชรพลอย และอาวุธ  ผู้ตายมีความคาดหวังจะให้ญาตินำอาหารและเครื่องดื่มไปไว้ในหลุมฝังศพของผู้ที่เป็นที่รักของตนเอง ดังนั้น Ka อาจจะไม่เกิดความหิวหรือความกระหาย



การปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีฝังศพ
แนวความคิดของชาวอียิปต์เกี่ยวกับชีวิตหลังความตายทำให้เกิดพิธีการฝังศพขึ้น ชาวอียิปต์เชื่อว่า จะต้องจัดเตรียมร่างกายเอาไว้หลังความตายก่อนที่จะนำไปฝัง วิธีนี้ทำให้ร่างกายได้รับการเก็บรักษาไว้ ถ้าร่างกายเสื่อมสลาย วิญญารอาจจะไม่รับรู้ถึงร่างกาย ข้อนั่นจะทำลายความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายกับวิญญาณ ครั้นแล้ว Ka อาจจะไม่สามารถรับอาหารและเครื่องดื่ม มันมีความจำเป็นจะต้องมีชีวิตหลังความตายที่ดีมีความสุข
การเก็บรักษา Ka ไว้ไม่ให้ได้รับความทุกข์ ชาวอียิปต์จะพัฒนาวิธีการอย่างหนึ่งที่เรียกว่า การดองศพ การดองศพจะทำให้ร่างกายเก็บรักษาไว้ได้เป็นเวลานานา หลาย ๆ ปี จนเป็นมัมมี่ (Mummy) ร่างกายที่ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษจะถูกพันด้วยผ้า ร่างกายที่ไม่ถูกดองจะเสื่อมสลายอย่างเร็วพลัน
การดองศพเป็นขบวนการที่สลับซับซ้อน ซึ่งใช้เวลาหลายสัปดาห์ ในขณะที่ดองศพเรียบร้อยแล้วจะพันร่างกายด้วยผ้าลินินและผ้าพันแผล ครั้นแล้ว มัมมี่จะถูกเก็บใส่ไว้ในหีบศพ ปกติแล้ว พวกญาติ ๆ จะเขียนสะกดคำด้วยเวทมนต์ภายในหีบศพเพื่อช่วยให้มัมมี่ได้รับอาหารและเครื่องดื่ม
            ราชตระกูลและสมาชิกอื่น ๆ ของชนชั้นสูงของอียิปต์เท่านั้น หรือบุคคลผู้มีอำนาจและมีความมั่งคั่งเท่านั้น จึงจะได้รับการทำเป็นมัมมี่  ตระกูลชาวนาจะฝังคนตายไว้ในหลุมฝังศพตื้น ๆ ที่ขอบทะเลทราย ทะเลทรายที่ร้อน แห้งแล้งและขาดความชื้นจะเก็บรักษาศพไว้ตามธรรมชาติ

พีระมิด
ชาวอียิปต์เชื่อว่า สถานที่ฝังศพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุสานหลวง มีความสำคัญมาก อันเป็นผลให้พวกเขาสร้างอนุสาวรีย์อันน่าตื่นตาตื่นใจซึ่งใช้สำหรับฝังศพของนักปกครอง ในบรรดาอนุสาวรีย์ทั้งหมดที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดคือ พีระมิด (pyramid) ซึ่งที่ฝังศพหินขนาดมหึมามีผนังเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งพบได้ ณ จัดยอดสุด

ชาวอียิปต์เริ่มสร้างพีระมิดในช่วงเวลาแห่งราชอาณาจักรเก่า พีระมิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบางแห่งที่เคยสร้างก็สร้างในช่วงเวลานี้ โครงสร้างอันใหญ่มหึมามากมายเหล่านี้อยู่คงดำรงอยู่ในทุกวันนี้  พีระมิดที่ใหญ่ที่สุดคือ Great Pyramid ของกษัตริย์คูฟู ซึ่งอยู่ใกล้เมืองกิซา (Giza) กินเนื้อที่มากกว่า 13 เอเคอร์ ตรงฐานและสูง 481 ฟุต พีระมิดที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวนี้ใช้ก้อนหินปูนมากกว่า 2 ล้านก้อนสร้าง นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจอย่างถ่องแท้ว่า ชาวอียิปต์สร้างพีระด้วยวิธีใด แต่อย่างไรก็ตาม พีระมิดเหล่านั้น เป็นผลงานการก่อสร้างที่มหัศจรรย์ ซึ่งใช้ประโยชน์จากความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ตามวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติ
           หลุมฝังศพในพีระมิดจะอธิบายความสำคัญของฟาโรห์ ขนาดเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ของฟาโรห์ รูปร่างของพีระมิด จะชี้ไปสู่ท้องฟ้า เป็นสัญลักษณ์แห่งการเดินทางไปสู่ปรโลกของฟาโรห์ ชาวอียิปต์ต้องการให้พีระมิดน่าตื่นตาตื่นใจเนื่องจากพวกเขาเชื่อว่า ฟาโรห์ ในฐานะเป็นผู้เชื่อมโยงพวกเขาไปยังเทพเจ้า จะควบคุมชีวิตหลังความตายของทุก ๆ คน การทำให้วิญญาณของฟาโรห์พอพระทัยเป็นวิธีหนึ่งที่ให้มั่นใจว่าชีวิตหลังจากตายจะมีความสุขสำหรับชาวอียิปต์ทุก ๆ คน