กำเนิดพุทธศาสนา
|
||
การแสวงหาปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะ
ในปลายศตวรรษที่
500 ก่อนคริสตกาล ชายหนุ่มผู้มีแต่ความกระวนกระวาย ไม่พอใจกับคำสอนของศาสนาฮินดู
เริ่มถามตัวเองเกี่ยวกับชีวิตและเรื่องราวทางศาสนา ในไม่ช้าเขาก็ได้พบกับคำตอบ
คำตอบเหล่านี้ได้ดึงดูดสาวกมากมาย
และแนวความคิดของชายหนุ่มนั้นก็กลายเป็นรากฐานของศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งในอินเดีย
|
||
คำถามที่นำไปสู่คำตอบ
ชายหนุ่มที่มีความกระวนกระวายนั้น
คือ สิทธัตถะ โคตมะ (เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า สิทธารถะ เคาตมะ) สิทธัตถะประสูติเมื่อประมาณ
563 ปีก่อนคริตกาล ทางตอนเหนือของอินเดีย ใกล้ภูเขาหิมาลัย
เป็นเจ้าชายผู้เจริญวัยมากับความสุขสบาย สิทธัตถะประสูติเป็นกษัตริย์ เป็นสมาชิกชนชั้นนักรบไม่เคยต่อสู้ดิ้นรนกับปัญหาที่ประชาชนในยุคนั้นเผชิญ
แต่สิทธัตถะก็ไม่เกิดความพอใจ พระองค์รู้สึกว่า
มีบางสิ่งบางอย่างที่ผิดพลาดในชีวิต
สิทธัตถะมองไปรอบ
ๆ พระองค์และทรงเห็นประชาชนคนอื่น ๆ ทำงานหนักและมีความทุกข์มากมาย
พระองค์ได้เห็นประชาชนเศร้าโศกเสียใจกับการสูญเสียผู้เป็นที่รักและรู้สึกสงสัยทำไมจึงมีความทุกข์มากมายในโลก
เป็นผลให้สิทธัตถะเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความหมายของชีวิตมนุษย์
ก่อนสิทธัตถะจะย่างเข้าพระชนมายุ
30 พรรษา พระองค์จึงทรงละทิ้งพระราชวังและพระวงศานุวงศ์ เพื่อแสวงหาคำตอบ การจาริกไปของพระองค์ได้นำพระองค์ไปสู่ภูมิภาคมากมายในอินเดีย
เมื่อพระองค์เสด็จไป ณ สถานที่ใด ก็จะสนทนากับนักบวชและผู้คนที่แสวงหาปัญญา ไม่มีใครให้คำตอบที่มั่นใจกับสิทธัตถะเลย
พระพุทธเจ้าค้นพบทางตรัสรู้
สิทธัตถะไม่ละทิ้งความพยายาม
พระองค์ทรงตั้งใจอย่างแน่วแน่มากขึ้นที่จะค้นหาคำตอบที่ทรงแสวงหา เป็นเวลาหลายปี
พระองค์ได้จาริกไปเพื่อแสวงหาคำตอบ
สิทธัตถะต้องการจะทำให้จิตใจของพระองค์เป็นอิสระความห่วงใยในชีวิตประจำวัน
เป็นเวลาชั่วขณะ พระองค์ก็ไม่ได้แม้แต่จะทำพระองค์ให้สะอาด พระองค์ยังเริ่มอดอาหาร
หรือเที่ยวไปโดยไม่มีอาหาร พระองค์อุทิศเวลาส่วนมากให้กับการปฏิบัติสมาธิ
ซึ่งเป็นการทำจิตใจให้รวมเป็นหนึ่ง
ตามตำนาน
สิทธัตถะใช้เวลา 6 ปี ด้วยการเที่ยวจาริกไปทั่วอินเดีย ในที่สุด
พระองค์ก็เดินทางมาสู่สถานที่ใกล้เมืองคยา ติดกับแม่น้ำคงคา ณ ที่นั้น พระองค์ทรงประทับนั่งภายใต้ต้นไม้และปฏิบัติสมาธิ
หลังจากปฏิบัติสมาธิอันลึกซึ้ง
7 สัปดาห์ พระองค์ก็ค้นพบคำตอบที่ทรงแสวงหาในทันทีทันใด พระองค์รู้ความจริงว่า
ความทุกข์ของมนุษย์มาจากสิ่งสามประการนี้ คือ
- ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ดังปรารถนา
- ปรารถนาจะให้สิ่งที่ชอบใจคงอยู่ตลอดไป
- ปรารถนาจะพ้นไปจากสิ่งที่ไม่ชอบใจ
แต่ทำไม้ได้
(เป็นทัศนะของชาวต่างชาติที่มองพุทธศาสนา)
สิทธัตถะใช้เวลาปฏิบัติสมาธิภายใต้ต้นไม้เป็นเวลามากกว่า
7 สัปดาห์ ซึ่งต่อสาวกของพระองค์ได้ตั้งชื่อต้นไม้นั้นว่า ต้นไม้แห่งปัญญา (โพธิ)
ครั้นแล้วพระองค์ก็อธิบายแนวความคิดใหม่แก่ผู้ร่วมอุดมการณ์รุ่นแรก 5 ท่าน
(ปัญจวัคคีย์) ต่อมา สาวกของพระองค์ก็เรียกการสนทนานั้นว่า ปฐมเทศนา
สิทธัตถะ
โคตมะ มีพระชนมายุ 35 พรรษาในขณะที่พระองค์ทรงค้นพบทางแห่งปัญญาใต้ต้นไม้
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป พระองค์ก็ได้รับการเรียกขานว่า พุทธะ (ไทยแปลว่า
พระพุทธเจ้า อังกฤษว่า Buddha
ซึ่งมาจากภาษาบาลีว่า พุทฺธ) แปลว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว
พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาที่เหลือในชีวิตเที่ยวจาริกไปทั่วอินเดียตอนเหนือและสอนแนวความคิดของพระองค์แก่ประชาชน
คำสอนของพระพุทธเจ้า
ในขณะที่พระองค์ทรงเที่ยวจาริกไป
พระพุทธเจ้าทรงได้พระสาวกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พ่อค้าและช่างฝีมือ (ความจริงทรงได้สาวกจากทุกชนชั้นวรรณะ
ทั้งพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร) พระองค์ก็ทรงสอนทัศนะของพระองค์แก่กษัตริย์เล็กน้อย
สาวกเหล่านี้ คือ ผู้มีศรัทธารุ่นแรกในพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำสอนของพระพุทธเจ้า
|
พระพุทธเจ้าทรงเป็นฮินดู
(แต่เป็นพราหมณ์ ฝรั่งเข้าใจว่าเป็นฮินดู
ฮินดูได้วิวัฒนาการมาจากพราหมณ์ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว) และคำสอนของพระองค์มากมายสะท้อนถึงแนวความคิดของฮินดู
(ฝรั่งคนเขียนยังเข้าใจผิดอยู่ ความจริงพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธพราหมณ์โดยสิ้นเชิง
ยอมรับข้อปฏิบัติที่ถูกต้องบ้างตามธรรมดาของธรรมชาติ อันใดถูกต้อง
พระองค์ก็ยอมรับ อันใดผิดพระองค์ก็ปฏิเสธทันที เช่น เรื่องวรรณะ
ทรงปฏิเสธโดยสิ้นเชิง คนอินเดียสมัยนั้น ไม่ว่ามาจากวรรณะใด
เมื่อเข้ามานับถือพุทธ ก็ให้ทรงเรียกว่า
ศากยบุตรหรือพุทธบุตร
เหมือนแม่น้ำทุกสายในโลก แม้จะมีชื่อนั้นชื่อนี้ แต่เมื่อไหลลงทะเล
ก็ทิ้งชื่อหมด รวมเป็นมหาสมุทร ทรงปฏิเสธเรื่องพระผู้สร้าง หรือพระพรหม
พระพรหมไม่ได้สร้างมนุษย์ แต่มนุษย์เกิดจากพ่อแม่ต่างหาก จึงเอาคำว่า พรหม
ซึ่งเป็นชื่อเทพเจ้าสูงสุดของพราหมณ์มาเรียกเป็นชื่อพ่อแม่แทน เป็นต้น) พระองค์ก็เหมือนกับฮินดู ทรงเชื่อว่า
บุคคลควรปฏิบัติศีลธรรมและปฏิบัติต่อผู้อื่นให้ดี ในคำสอนตอนหนึ่ง
พระองค์ทรงพูดว่า
“จงชนะความโกรธด้วยเมตตา
จงชนะความโลภด้วยการให้ทาน จงชนะคนพูดเท็จด้วยความจริง
นี้เรียกว่าหลักการในวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า”
พระพุทธเจ้า, อ้างอิงจาก The History of
Nations: India
อริยสัจ 4
หัวใจของคำสอนของพระพุทธเจ้า
คือ หลักการนำทาง 4 อย่าง ซึ่งรู้จักกันว่า อริยสัจ 4 (พึงรู้ว่า เป็นทัศนะของชาวตะวันตก เราชาวพุทธโดยแท้จริง
หาศึกษาได้โดยง่าย) คือ
1. ทุกข์และความไม่สบายกายไม่สบายใจ
เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ไม่มีใครหนีจากความเศร้าโศกเสียใจได้
2. ทุกข์เกิดมาจากความปรารถนาความยินดีและวัตถุสิ่งเสพ
ผู้คนทำให้ความทุกข์ของตนเองเกิดขึ้นเนื่องจากต้องการสิ่งที่ไม่สามารถจะมีได้
3. ผู้คนสามารถเอาชนะความอยากและความไม่รู้และบรรลุนิพพานได้
ซึ่งเป็นภาวะที่เป็นสันติสุขอย่างสมบูรณ์ การเข้าถึงนิพพาน เป็นอิสระจากอัตตา
จากทุกข์ และจากความต้องการในการเกิดใหม่
4. ผู้คนสามารถเอาชนะความไม่รู้และความปรารถนาได้ด้วยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด
ซึ่งเป็นแนวทางแห่งปัญญา การตรัสรู้ และการหลุดพ้น
แผนภูมิในภาพแสดงถึงย่างก้าวในมรรคมีองค์แปด
พระพุทธเจ้าเชื่อว่า
มรรคนี้เป็นทางสายกลางระหว่างความปรารถนาและการปฏิเสธความพอใจในตัวตนใด ๆ
ของมนุษย์ พระองค์เชื่อว่า ผู้คนควรจะเอาชนะความปรารถนาวัตถุสิ่งเสพ อย่างไรก็ตาม
ผู้คนควรจะมีเหตุผลและไม่ทำให้ร่างกายตนเองอดอยากจนตาย
หรือทำให้ตัวเองเกิดความทุกข์โดยไม่จำเป็น
|
มหาภิเนษกรมณ์
ในภาพวาดนี้
เจ้าชายสิทธัตถะทรงหนีจากพระราชวังเพื่อไปแสวงหาความหมายที่แท้จริงของชีวิต
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า มหาภิเนษกรมณ์ มีนายฉันนะประคองกีบม้าเพื่อจะได้ไม่ทำให้ผู้อื่นตื่นนอน
|
การคัดค้านแนวความคิดฮินดู
คำสอนของพระพุทธเจ้าบางอย่างคัดค้านแนวความคิดฮินดูโบราณ
ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธแนวความคิดมากมายที่บรรจุอยู่ในพระเวท เช่น
การบูชายัญ พระองค์บอกผู้คนทั้งหลายว่า พวกเขาไม่ต้องปฏิบัติตามคัมภีร์เหล่านี้
พระพุทธเจ้าคัดค้านอำนาจของนักบวชฮินดู
คือ พราหมณ์ พระองค์ไม่เชื่อว่า
พวกเขาหรือพิธีกรรมของพวกเขาจำเป็นสำหรับการตรัสรู้ พระองค์ทรงสอนขึ้นมาแทนว่า
เป็นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่ทำงานเพื่อการหลุดพ้นของตนเอง (คือ
ตนเองจะบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ผู้อื่นทำให้ไม่ไม่ได้ เหมือนคนหิวข้าว
ต้องกินเองจึงจะหายหิว ให้คนกินแทนไม่ได้) นักบวชไม่ควรช่วยพวกเขา
แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ปฏิเสธคำสอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของฮินดู พระองค์ทรงสอนว่า
ผู้คนที่ไม่ได้บรรลุนิพพานจะเวียนว่ายตายเกิดครั้งแล้วครั้งเล่าจนกระทั่งบรรลุนิพพาน
(ต่างจากฮินดูคือ การเกิดใหม่ของพุทธไม่ใช่การเปลี่ยนร่างกายใหม่
แต่มันเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน วิญญาณในทัศนะของพุทธเกิดดับตลอดเวลา
ไม่คงที่เหมือนในฮินดู จิตหรือวิญญาณดวงเก่าดับไปพร้อมทั้งคุณลักษณะต่าง ๆ
ก่อนจะดับด้วยอำนาจแห่งเชื้อที่ยังมีอยู่ก็เป็นปัจจัยส่งให้วิญญาณใหม่เกิดขึ้นพร้อมทั้งร่างกายใหม่
แม้ร่างกายก็เกิดดับตลอดเวลา หรือเกิดตายอยู่ตลอดเวลา
ร่างกายเก่าตายเป็นเหงื่อเป็นขี้ไคล แล้วร่างกายใหม่ก็เกิดขึ้นแทนต่อ ๆ กันไป
เหมือนเมล็ดผลไม้ก็เป็นเหตุให้เกิดต้นไม้แล้วมันก็ดับไป เป็นต้น)
|
พระพุทธเจ้าทรงคัดค้านระบบวรรณะ
พระองค์ไม่คิดว่า ผู้คนควรจะถูกจำกัดสถานะพิเศษในทางสังคม พระองค์ตรัสว่า ทุก ๆ
คนที่ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดอย่างเหมาะสม ก็ควรจะบรรลุนิพพาน
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวรรณะหรือชนชั้นที่เขาสังกัดอยู่ตราบเท่าที่พวกเขาดำเนินชีวิตตามแนวทางที่พวกเขาควรจะเป็น
การคัดค้านระบบวรรณะของพระพุทธเจ้าได้รับการสนับสนุนจากมวลชน
คนเลี้ยงสัตว์ เกษตรกร ช่างฝีมือ และจัณฑาล เป็นจำนวนมากชอบฟังคำสอนว่า
ระดับชั้นทางสังคมที่ต่ำไม่ควรจะเป็นสิ่งกีดกั้นการตรัสรู้ พุทธศาสนาไม่เหมือนศาสนาฮินดู
ที่ทำให้พวกเขามีความรู้สึกว่า พวกเขามีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองได้ (นับว่าชาวตะวันตกเข้าใจพุทธศาสนาพอสมควร
มากกว่าคนไทยที่ถือตัวเองว่าเป็นชาวพุทธหลายคนเสียอีก)
พระพุทธเจ้ายังได้พระสาวกในวรรณะที่สูงอีกด้วย
ชาวอินเดียที่ร่ำรวยและมีอำนาจมากมายยินดีรับแนวความคิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมสุดโต่งในขณะแสวงหาความหลุดพ้น
เมื่อใกล้จะปรินิพพานประมาณ 483 ปีก่อนคริสตกาล
อิทธิพลของพระพุทธเจ้าก็เผยแพร่ไปทั่วอินเดียอย่างรวดเร็ว
|
พระพุทธปฏิมากรขนาดมหึมานี้
ปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้เมืองคยา ในพุทธคยา ประเทศอินเดีย
ซึ่งเป็นสถานที่ชาวพุทธเชื่อว่า เป็นที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้
|
การเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนายังดำเนินการเผยแพร่ต่อไปหลังจากพุทธปรินิพพาน
หลังจากเผยแพร่ไปทั่วอินเดียแล้ว ศาสนาก็เริ่มเผยแพร่ไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย
พุทธศาสนาเผยแพร่ในอินเดีย
ตามประเพณีของชาวพุทธ
สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 500 ท่าน มาประชุมกันในระยะเวลาสั้น ๆ (3 เดือน)
หลังจากพุทธปรินิพพาน พวกท่านต้องการจะสร้างความมั่นใจว่า
คำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีการทรงจำอย่างถูกต้อง
เมื่อหลายปีหลังจากการประชุมนี้
(การสังคายนา) สาวกของพระพุทธเจ้าก้ได้เผยแพร่คำสอนของพระองค์ไปทั่วอินเดีย
แนวความคิดได้เผยแพร่ไปรวดเร็วมาก
เนื่องจากคำสอนของพุทธศาสนาเป็นที่นิยมและเข้าใจง่าย ภายใน 200
ปีแห่งพุทธปรินิพพาน ความสอนของพระองค์ก็เผยแพร่ไปทั่วอินเดียเป็นส่วนมาก
พุทธศาสนาเผยแพร่จากอินเดีย
พระพุทธศาสนาเผยแพร่มากขึ้นหลังจากกษัตริย์ผู้ทรงอำนาจมากที่สุดองค์หนึ่งในอินเดีย
คือ พระเจ้าอโศก ได้หันมานับถือพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 200 ก่อนคริสตกาล ทันทีที่พระองค์ทรงเปลี่ยนศาสนา
พระองค์ได้สร้างวัดและโรงเรียนพุทธทั่วอินเดีย ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น
พระองค์ได้ทำงานเผยแพร่พุทธศาสนาไปภูมิภาคภายนอกอินเดีย
คณะพระธรรมทูตยังได้นำพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนด้านตะวันตกของอินเดีย
พวกท่านได้ก่อตั้งสังคมชาวพุทธขึ้นในเอเชียกลางและเปอร์เซีย ท่านเหล่านั้นได้สอนพุทธศาสนาออกไปไกลถึงซีเรียและอียิปต์
พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากกว่าหลายศตวรรษ
ในที่สุด ก็เผยแพร่ไปถึงเส้นทางสายไหมในประเทศจีน ตลอดจนเกาหลีและญี่ปุ่น
ด้วยการทำงานของท่าน คณะพระธรรมทูตได้สอนพุทธศาสนาให้กับผู้คนหลายล้านคน
|
การแตกแยกภายในพุทธศาสนา
อย่างไรก็ตาม
แม้ในขณะที่พุทธศาสนาเผยแพร่ไปทั่วเอเชีย ก็เริ่มที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
ชาวพุทธไม่ใช่ทั้งหมดที่เห็นด้วยกับความเชื่อและข้อปฏิบัติของคณะพระธรรมทูต ในที่สุด
ก็เกิดความไม่เห็นด้วยในระหว่างชาวพุทธ อันนำไปสู่ความแตกแยกภายในศาสนา
เกิดเป็นนิกายสำคัญ 2 นิกายในพุทธศาสนา คือ เถรวาทกับมหายาน (ความจริงถ้าจะให้ตรงจริง
ๆ ต้องเป็น เถรวาทกับอาจริยวาท หรือ หีนยานกับมหายาน)
สมาชิกในนิกายเถรวาท
(หรือหีนยาน) พยายามปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างตรง ๆ หรืออย่างแท้จริง
หรือตรงมาจากพระเถระที่ทำปฐมสังคายนา 500 รูป จึงเรียกว่า เถรวาท (คำว่า หีนยาน
เป็นคำที่นิกายอาจริยวาทเรียกนิกายเถรวาท แปลว่า ยานเล็ก หรือ ยานน้อย
หมายความว่า ขนสรรพสัตว์ออกจากทุกข์ได้น้อยกว่ามหายาน)
แม้ชาวพุทธมหายานก็เชื่อว่า คนอื่น ๆ
สามารถตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อช่วยสรรพสัตว์ให้บรรลุถึงนิพพาน ทั้งสองนิกายมีสาวกหลายล้านคนในปัจจุบัน
แต่มหายานเป็นนิกายที่ใหญ่กว่า
มหายาน (หรืออาจริยวาท) เป็นนิกายที่ดัดแปลงหรือตีความคำสอนตามอาจารย์
จึงเรียกว่า อาจริยวาท บางทีดัดแปลงจนผสมผสานกับศาสนาฮินดู ตัวอย่างเช่น
มีพระพุทธเจ้าหลายองค์หรือมีพระโพธิสัตว์ที่ช่วยสรรพสัตว์ให้บรรลุถึงนิพพานก่อน
ตัวเองจึงจะบรรลุตามทีหลัง เป็นต้น เช่น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
หรือเจ้าแม่กวนอิมที่ชาวจีนนับถือ ก็ถือกำเนิดในประเทศอินเดียในพุทธศาสนานิกายมหายาน
|
แผนที่การเผยแพร่พุทธศาสนาในยุคแรก |
สามเณรในประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พุทธศาสนามาเผยแพร่ในยุคแรก |