กำเนิดศาสนาฮินดู
|
||
สังคมอารยันเกิดการแบ่งแยก
ในขณะที่สังคมอารยันมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
สังคมจึงถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ส่วนใหญ่
กลุ่มเหล่านี้ถูกจัดตั้งจากอาชีพของประชาชน กฎที่เข้มงวดได้พัฒนาเกี่ยวกับวิธีที่ประชาชนของกลุ่มต่าง
ๆ ให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เมื่อเวลาผ่านไป กฎเหล่านี้มีความเข้มงวดขึ้นและกลายเป็นศูนย์กลางให้กับสังคมอินเดีย
|
||
วรรณะ
ตามคัมภีร์พระเวท
มีวรรณะหรือการแบ่งชนชั้นทางสังคมหลักอยู่ 4 วรรณะ ในสังคมอารยัน คือ
1.
พราหมณ์ หรือนักบวช
2.
กษัตริย์ หรือนักปกครองหรือนักรบ
3.
ไวศยะ หรือเกษตรกร ช่างฝีมือ และพ่อค้า
4.
ศูทร หรือผู้ใช้แรงงานและผู้ที่ไม่ใช่ชาวอารยัน
พราหมณ์จัดว่าเป็นวรรณะสูงสุด
เนื่องจากเป็นผู้ปฏิบัติพิธีกรรมให้กับเทพเจ้า ข้อนี้ทำให้พราหมณ์มีอิทธิพลยิ่งใหญ่เหนือวรรณะอื่น
ๆ
ระบบวรรณะ
ในขณะที่กฎแห่งการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างวรรณะเข้มงวดขึ้น
ระเบียบของสังคมอารยันก็กลายเป็นสังคมที่สลับซับซ้อน ในไม่ช้า แต่ละวรรณะในบรรดา
4 วรรณะในสังคมอารยันก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นหลากหลายวรรณะมากขึ้น ระบบวรรณะนี้ได้แบ่งสังคมอินเดียออกเป็นกลุ่มโดยมีพื้นฐานมาจากชาติกำเนิด
ความมั่งคั่ง หรืออาชีพของบุคคล ครั้งหนึ่ง มีการแบ่งแยกวรรณะถึง 3,000
วรรณะในอินเดีย
วรรณะที่บุคคลสังกัดอยู่ได้กำหนดสถานะในสังคมของเขาและหล่อน
อย่างไรก็ตาม การจัดระเบียบนี้ไม่แนวทางที่มั่นคงถาวร เมื่อเวลาผ่านไป
วรรณะแต่ละวรรณะก็ได้รับหรือสูญเสียเกียรติยศในสังคม เมื่อสมาชิกของวรรณะได้รับความมั่งคั่งหรืออำนาจ เมื่อโอกาสหายาก ประชาชนก็สามารถเปลี่ยนวรรณะได้
(ความจริงแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย-ฝรั่งน่าจะเข้าใจผิด สังคมอินเดียถือวรรณะเข้มงวดยิ่งกว่าอิสลามถือศาสนาเสียอีก
สามารถล้างเผ่าพันธุ์เพราะวรรณะได้)
ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะสังกัดวรรณะ
ในสังคมอารยันยุคแรก ผู้หญิงมีสิทธิเหมือนกับผู้ชายมากที่สุด ยกตัวเช่น
พวกหล่อนสามารถมีทรัพย์สมบัติและได้รับการศึกษา แต่เมื่อเวลาผ่านไป
มีการผ่านกฎหมายให้จำกัดสิทธิเหล่านี้
ยุคต่อมาของอารยัน
กลุ่มของสังคมอินเดียในยุคแรกอีกเสี้ยวหนึ่งก็มีการพัฒนาโดยไม่จัดเข้าในวรรณะใด
กลุ่มนี้จัดเป็นพวกจัณฑาล พวกเขามีหน้าที่บางอย่างเท่านั้น
แต่มักจะเป็นหน้าที่อันไม่น่าพอใจ
กฎของวรรณะ
เพื่อรักษาชนชั้นวรรณะให้ชัดแจ้ง
ชาวอารยันจึงพัฒนาพระสูตร หรือ ตำรานำทางซึ่งเขียนกฎให้กับระบบวรรณะ
ยกตัวอย่างเช่น ประชาชนจะไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับใครในวรรณะที่ต่างกัน
ห้ามแม้กระทั่งไม่ให้คนในวรรณะหนึ่งรับประทานอาหารกับคนอีกวรรณะหนึ่ง ผู้ที่จะทำลายกฎของวรรณะอาจจะถูกขับไล่ออกจากบ้านเกิดหรือวรรณะของตนเอง
(พระพุทธเจ้าเป็นคนหนึ่งที่ทำลายระบบวรรณะ แต่พวกพราหมณ์ก็หันมานับถือพระองค์เป็นจำนวนมาก
พูดได้ว่าแทบจะหมด
ภายหลังพุทธปรินิพพานระบบวรรณะจึงถูกรื้อฟื้นขึ้นมาเข้มข้นอีกครั้ง) ซึ่งจะทำให้เขาเป็นจัณฑาล
เพราะกฎเหล่านี้ ผู้คนจึงใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่กับคนอื่น ๆ ในวรรณะเดียวกัน
|
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวอารยันตั้งแต่ก่อนที่ชาวอารยันจะอพยพมาสู่อินเดีย
ในที่สุด ในอินเดีย
ศาสนาก็มีความหมายมากขึ้น เนื่องจากนักบวชชาวอารยันที่เรียกว่า พราหมณ์
ศาสนาของพวกเขาจึงนิยมเรียกว่า ศาสนาพราหมณ์
พระเวท
ศาสนาของชาวอารยันยึดคัมภีร์พระเวทเป็นหลัก
พระเวทมี 4 เวท แต่ละพระเวทจะบรรจุบทสวดสรรเสริญและบทกวีอันศักดิ์สิทธิ์ พระเวทที่เก่าแก่ที่สุด
คือ ฤคเวท บางทีอาจจะเขียนมาก่อน 1000 ปีก่อนคริสตกาล ฤคเวทนี้ประกอบด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้ามากมาย
ยกตัวอย่างเช่น ข้อเขียนนี้จะเป็นการเปิดบทสวดสรรเสริญพระอินทร์
ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์และสงคราม
“ผู้เป็นองค์ปฐมและเป็นเจ้าของแห่งปัญญาตั้งแต่กำเนิด
เป็นเทพเจ้าที่พยายามปกปักรักษาเทพเจ้าทั้งหลายด้วยความเข้มแข็ง เป็นผู้ที่โลกทั้งสอง
(คือ มนุษยโลกและนรก) เกรงกลัวอำนาจเพราะความยิ่งใหญ่ของพระองค์เจ้า
ดูกรมนุษย์ทั้งหลาย พระองค์คือพระอินทร์เจ้า”
จากฤคเวท
ตอนอ่านเกี่ยวโลก
บทที่ 1
บรรณาธิการโดย พอล ไบรอันส์
คัมภีร์พระเวทในยุคต่อมา
เมื่อผ่านไปหลายศตวรรษ
เหล่าพราหมณ์ชาวอารยันก็ได้เขียนบันทึกความคิดเกี่ยวกับพระเวทของตนเอง ในไม่ช้า
ความคิดเหล่านี้ก็ได้รับการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า คัมภีร์พระเวท
คัมภีร์พระเวทชุดหนึ่งจะอธิบายพิธีกรรมทางศาสนาของชาวอารยัน
ยกตัวอย่างเช่น จะอธิบายวิธีการปฏิบัติในการบูชายัญ นักบวชจะวางสัตว์เลี้ยง
อาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อบวงสรวงในกองไฟ ชาวอารยันเชื่อว่า
ไฟจะนำเครื่องสังเวยเหล่านี้ไปสู่เทพเจ้าทั้งหลาย
คัมภีร์พระเวทชุดที่สองจะอธิบายพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีคนบางคนเท่านั้นจึงจะสามารถกระทำได้
ในความเป็นจริง พิธีกรรมทั้งหลายจะศักดิ์สิทธิ์มากถ้าได้กระทำในป่า
ไกลออกไปจากผู้คนพวกอื่น (พิธีกรรมนี้ยังมีทำกันอยู่ในประเทศปากีสถานในปัจจุบัน)
|
วิวัฒนาการของศาสนาฮินดู
พระเวท
อุปนิษัท และคัมภีร์พระเวทอื่น ๆ
ยังเป็นพื้นฐานของศาสนาอินเดียมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ แต่ในที่สุด
แนวความคิดเกี่ยวกับคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ก็เริ่มผสมผสานกลมกลืนกับแนวความคิดที่มาจากวัฒนธรรมอื่น
ๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้คนที่เดินทางมาจากเปอร์เซียและอาณาจักรอื่น ๆ ในเอเชียกลาง ก็ได้นำแนวความคิดของตนเองไปสู่อินเดีย
ในไม่ช้า การผสมผสานแนวความคิดนี้ก็สร้างศาสนาขึ้นอีกศาสนาหนึ่ง คือ ฮินดู
เป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียในปัจจุบันนี้
ความเชื่อในศาสนาฮินดู
ชาวฮินดูเชื่อในเทพเจ้ามากมาย
บรรดาเทพเจ้าเหล่านั้น มีเทพเจ้าสำคัญ 3 องค์ คือ พระพรหม ผู้สร้าง พระศิวะ
ผู้ทำลาย และพระวิษณุ ผู้พิทักษ์คุ้มครอง
อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกันนั้น ชาวฮินดูก็มีความเชื่อว่า เทพเจ้าแต่ละองค์ก็เป็นวิญญารสากลหนึ่งเดียว
เรียกว่า พรัหมัน ชาวฮินดูเชื่อว่า พรหมันได้สร้างโลกและปกปักรักษาโลก
เทพเจ้าทั้งหลาย เช่น พระพรหม พระศิวะ และพระวิษณุ (หรือพระนารายณ์) เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ต่าง
ๆ ของพรหมัน ในความเป็นจริง ชาวฮินดูเชื่อว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นส่วนหนึ่งของพรัหมัน
ชีวิตและการเวียนว่ายตายเกิด
ตามคำสอนของฮินดู
ทุก ๆ คนมีวิญญาณ หรือ อาตมัน ภายในตนเอง วิญญาณนี้เป็นเจ้าของอัตตาของบุคคล
ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้พวกเขาเป็นตัวตน ชาวฮินดูเชื่อว่า
จุดมุ่งหมายสูงสุดของบุคคลควรจะทำวิญญาณนั้นให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรหมัน
ซึ่งเป็นวิญญาณสากล
ชาวฮินดูเชื่อว่า
วิญญาณ (หรืออัตตา) ของพวกเขาในที่สุดก็จะรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรัหมัน
เนื่องจากโลกที่เราอาศัยอยู่เป็นสิ่งลวงตาหรือเป็นมายา พรัหมันเป็นความจริงอันเดียวเท่านั้น
คัมภีร์อุปนิษัทสอนว่า คนทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าใจภาพลวงตาของโลกให้ทะลุปรุโปร่ง
เนื่องจากเป็นการยากที่จะมองมายาของโลกให้ทะลุปรุโปร่งได้
จึงสามารถทำได้ตลอดชีวิตทั้งหมด นั่นเป็นเหตุผลที่ชาวฮินดูเชื่อว่า
อัตตาเกิดและเวียนว่ายตายเกิดครั้งแล้วครั้งเล่า
แต่ละครั้งอัตตาก็จะเขาสิงในร่างกายใหม่ ขบวนการแห่งการเวียนว่ายตายเกิดนี้
เรียกว่า การเกิดใหม่
ศาสนาฮินดูกับระบบวรรณะ
ตามทัศนะเกี่ยวกับการเกิดใหม่ของฮินดูดั้งเดิม
บุคคลที่ตายแล้วจะเกิดใหม่ในร่ายกายใหม่
ประเภทของร่างกาย
(เช่น คน สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก เป็นต้น) ขึ้นอยู่กับกรรมของเขาหรือของหล่อน คือ
ผลแห่งการกระทำดีและชั่วที่มีอยู่ในอัตตาของบุคคล การกระทำชั่วจะสร้างกรรมชั่ว
บุคคลที่มีกรรมชั่วจะเกิดในวรรณะหรือรูปแบบชีวิตที่ต่ำช้า
ในทางตรงกันข้าม
การกระทำดีจะสร้างกรรมที่ดี
บุคคลผู้มีกรรมดีจะเกิดในวรรณะหรือชีวิตถัดไปที่สูงขึ้น ในไม่ช้า
กรรมดีก็จะช่วยให้หลุดพ้น หรือเป็นอิสระจากความห่วงใยในชีวิตและวงจรแห่งการเกิดใหม่
การหลุดพ้นนี้ เรียกว่า โมกษะ
ศาสนาฮินดูสอนว่า
บุคคลแต่ละคนมีธรรมะ หรือชุดแห่งภารกิจของวิญญาณ ที่จะต้องทำให้บริบูรณ์
การทำธรรมะของตนให้บริบูรณ์จำเป็นจะต้องได้รับสถานะในชีวิตของตน ด้วยการสอนบุคคลให้รับสถานะของตน
ศาสนาฮินดูจึงช่วยอนุรักษ์ระบบวรรณะ
กลุ่มผู้ต่อต้านศาสนาฮินดู
แม้ว่าศาสนาฮินดูจะมีผู้นับถืออย่างกว้างขวางในอินเดีย
แต่ทุกคนก็ไม่ยอมรับความเชื่อของศาสนานั้น
บุคคลและกลุ่มบุคคลบางพวกไม่มีความพอใจ จึงค้นหาแนวคิดทางศาสนาใหม่ กลุ่ม 2
กลุ่มนั้น คือ เชน เรียกคำสอนของตนเองว่า ศาสนาเชน และสิกข์
เรียกคำสอนของตนเองว่า ศาสนาสิกข์
|
ศาสนาเชน (Jainism)
ศาสนาเชนมีพื้นฐานมาจากคำสอนของท่านศาสดามหาวีระ
ซึ่งเชื่อกันว่าพระองค์ทรงประสูติเมื่อประมาณ 599 ปีก่อนคริสตกาล
(รุ่นราวคราวเดียวกันกับพระพุทธเจ้า) ศาสดามหาวีระเป็นชาวฮินดู แต่ในขณะเป็นเด็ก
พระองค์ทรงคิดว่า ศาสนาฮินดูเน้นพิธีกรรมมากเกินไป
คำสอนของพระองค์แทนที่จะเน้นพิธีกรรม ทรงเน้นหลักพื้นฐานสี่ประการ คือ ไม่ทำลายชีวิต
พูดคำจริง ไม่ลักขโมย และไม่เอาทรัพย์สมบัติของคนอื่น ในความพยายามไม่ทำลายผู้ใดหรือสิ่งใด
ข้อปฏิบัติของศาสนาเชน คือ อหิงสา หรือการหลีกเลี่ยงการกระทำอันโหดร้าย
คำสันสกฤตของอหิงสา คือ อหิมสะ ชาวฮินดูมากมายยังปฏิบัติอหิงสา
จุดเน้นของเชนเกี่ยวอหิงสามาจากความเชื่อที่ว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งมีชีวิตและเป็นแห่งวงจรการเวียนว่ายตายเกิด เชนยังถือเคร่งมากเกี่ยวกับการไม่เบียดเบียนหรือฆ่าสัตว์ใด
เช่น มนุษย์ เดรัจฉาน แมลง หรือแม้แต่พืช พวกเขาไม่เชื่อในการบูชายัญด้วยสัตว์
ไม่เหมือนศาสนาพราหมณ์สมัยโบราณ เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องการให้สัตว์มีชีวิตได้รับบาดเจ็บ
เชนจึงเป็นพวกมังสวิรัติ พวกเขาไม่รับประทานอาหารใด ๆ ที่มาจากสัตว์เดรัจฉาน
ศาสนาสิกข์ (Sikhism)
ศาสนาสิกข์ (Sikhism) ก่อตั้งภายหลังศาสนาเชตหลายศตวรรษ มีพื้นฐานมาจากคำสอนของคุรุนานัก (Guru
Nanak) ผู้ที่มีชีวิตในคริสต์ศตวรรษ 1400 คำว่า คุรุ
เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “ครู หรือ ผู้สอน”
นานักคล้ายกับมหาวีระเป็นฮินดูมาก่อน แต่เกิดความไม่ชอบใจในคำสอนของศาสนา
ท่านจึงเริ่มท่องเที่ยวไปและมาสัมผัสกับศาสนาอื่น ๆ มากมาย รวมทั้งศาสนาอิสลาม
คำสอนของท่านผสมผสานแนวความคิดของศาสนาฮินดูกับแนวความคิดของศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น
ๆ เมื่อเวลาผ่านไป คำสอนเหล่านี้จึงถูกอธิบายและเผยแพร่โดยคุรุอื่น 9 ท่าน
ศาสนาสิกข์เป็นศาสนานับถือพระเจ้าองค์เดียว
สิกข์เชื่อในพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น โดยพระเจ้าของสิกข์ไม่มีรูปร่างทางกายภาพ
แต่สามารถรู้สึกได้ในพระผู้สร้าง
จุดหมายสูงสุดของศาสนาสิกข์คือการเข้ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระเจ้าภายหลังการสิ้นชีวิต
การจะบรรลุจุดหมายนี้ บุคคลต้องปฏิบัติสมาธิเพื่อค้นพบการตรัสรู้ทางจิตวิญญาณ
สิกข์ยังมีความเชื่อในการเกิดในร่างกายใหม่ด้วย ศาสนาสิกข์สอนว่า บุคคลควรมีชีวิตอยู่อย่างแท้จริงและควรปฏิบัติต่อทุก
ๆ คนอย่างเสมอภาค โดยไม่คำนึงถึงเพศ ชั้นวรรณะทางสังคม หรือปัจจัยอื่นใด
สิกข์สวดมนต์วันละหลายครั้ง
พวกเขาได้รับการคาดหวังจะให้สวมชุด 5 ชุดตลอดเวลาอันเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือ
ไว้ผมยาว พกหวีเล็ก ๆ กำไลมือเหล็ก ดาบ และเสื้อกางกางใน อีกประการหนึ่ง
ผู้ชายชาวสิกข์ทุกคนจะสวมผ้าโพกศีรษะ ในขณะที่ผู้หญิงมากมายก็ทำเหมือนกัน
|
ฮินดูเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์
แต่พวกเขามีความเชื่อว่า เทพเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด เป็นสัญลักษณ์ของวิญญาณสากลหนึ่งเดียว
เรียกว่า พรัหมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พระพรหมมีสัญลักษณ์ (ปาง) สามประการที่สำคัญในศาสนาฮินดู คือ พระพรหม พระศิวะ (หรือพระอิศวร
=
ความจริงแล้วอ่านว่า อิศ-วอน หรือ อิศ-วะระ (อิศ-วร) คนไทยอ่านยาก
เลยอ่าน อิ-ศวร) และพระวิษณุ (หรือ พระนารายณ์)
ความเชื่อหลักของศาสนาฮินดู
-
วิญญาณสากล เรียกว่า พรหม สร้างจักรวาลและทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นส่วนหนึ่งของพระพรหม
-
บุคคลทุกคนมีวิญญาณหรืออาตมันซึ่งในที่สุดจะเข้าร่วมกับพระพรหม
-
วิญญาณของบุคคลจะเวียนว่ายตายเกิดหลายครั้งก่อนที่จะเข้าร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพรหม
- กรรมของบุคคลจะส่งผลให้เขาหรือหล่อนให้เวียนว่ายตายเกิด
หมายเหตุ: คำว่า “กรรม” (ภาษาบาลี เป็น กมฺม) เป็นคำในศาสนาพราหมณ์มาก่อน
พระพุทธเจ้าเอามาใช้ในคำสอนของพระองค์ (เหมือนคำอื่น ๆ หลายคำ เช่น นิพพาน พรหม โมกษหรือโมกข เป็นต้น) แต่เปลี่ยนความหมายใหม่ กรรมในพุทธศาสนา
หมายถึง เจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกที่เข้านำหน้าเจตสิกทุกดวงให้ออกปฏิบัติการ
เจตนา เป็นสังขารอย่างหนึ่งในขันธ์ 5 (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ---
เจตสิกมี 52 คือ สังขาร 50 และ เวทนากับสัญญา ที่แยกเวทนากับสัญญาออกจากสังขาร
เพราะเวทนากับสัญญาเป็นจำพวกวิบาก คือ ผลของกรรม
ส่วนสังขารเป็นขันธ์ที่ปรุงแต่งจิต ถ้ายังไม่มีเจตนามาชักจูง จะจัดเป็นกิเลส
แต่เมื่อมีเจตนาเข้ามาชักจูงจึงเป็น กรรม
ดังนั้น เจตนา จังเป็นตัวกรรมที่แท้จริง เหมือนพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว
กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา"
แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว
บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"
และว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก” แปลว่า “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม”
กรรมในที่หมายถึง ตัวเจตนา หรือ ความจงใจคิดนั่นแหละ
กรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจะให้ผลทันทีในขณะแห่งการกระทำ ผลของกรรมก็คือ
เวทนากับสัญญาที่เป็นวิบากนั่นแหละ คือ เมื่อจงใจคิดแล้วจะเกิดเวทนา คือ รู้สึกสุข
ทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ และเกิดการจำได้หมายรู้)
ส่วนกรรมในศาสนาพราหมณ์ หมายถึงการกระทำที่จะต้องไปให้ผลในชาติหน้า
หรือในช่วงต่อ ๆ ไป ซึ่งตรงกับที่คนเข้าใจว่าเป็นของพุทธในปัจจุบันนี้
คือ ไม่ให้ผลในขณะกระทำ ถ้าไม่ศึกษาดี ๆ ชาวพุทธเราจะเข้าใจผิดมาก เพราะกรรม
เป็นคำสอนทั้งของพราหมณ์และเชน ด้วย กรรม ก็มีในศาสนาเชน
แต่หมายถึงการกระทำที่เป็นอดีตที่จะให้ผลในชาตินี้
ก็น่าสับสนอยู่หรอกครับ เพราะทั้งสามศาสนาก็เกิดในดินแดนเดียวกัน แต่มีความลึกซึ้งเรื่องจิตใจมากกว่ากัน พราหมณ์อาจจะศึกษาเรื่องจิตใจมาตั้งแต่สมัยโบราณ พระพุทธเจ้ายังไปศึกษาในสำนักของอาฬารดาบสและอุททกดาบส จนเข้าใจลึกซึ้ง แต่ก็ทรงไม่พอใจ ไม่ใช่หนทางแห่งความพ้นทุกข์ จึงค้นคว้าด้วยพระองค์ โดยอาศัยพื้นฐานจากของทั้งสองอาจารย์นั่นแหละ แต่พระองค์ทรงก้าวไปสู่วิปัสสนา ซึ่งไม่มีในคำสอนของศาสดาใดในครั้งนั้น วิปัสสนา คือ การมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ไม่ใช่มองตามที่เราอยากให้เป็น
อย่างคำสอนเรื่อง อหิงสา ก็มีในศาสนาพุทธเช่นกัน พึงเข้าใจว่า คำสอนใดที่ถูกต้องเป็นจริง พระพุทธเจ้าก็ยอมรับ เพราะเป็นของสากล ไม่ใช่ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แม้เรื่องศีล 5 ก็มีมาก่อนพุทธกาล เนื่องจากเป็นความดีสากล พระพุทธเจ้าก็ยอมรับ (แต่พราหมณ์ที่แท้จริงจะไม่มีคำสอนเรื่องอหิงสา พราหมณ์แท้จริง จะเน้นการฆ่าสัตว์บูชายัญ ก็บูชาพระพรหม ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์แรกและองค์เดียวในสมัยแรก เพิ่งมาปรับตอนที่สังกราจารย์ปฏิรูปศาสนานั่นแหละ จึงเป็นศาสนาฮินดู คำว่า ฮินดู แปลว่า อินเดีย ศาสนาฮินดู แปลว่า ศาสนาของอินเดีย ก็หมายถึง ทุกศาสนาที่เกิดในอินเดีย แต่เน้นศาสนาพราหมณ์เป็นหลัก) |