ภูมิศาสตร์และจีนในยุคแรก
|
ภูมิศาสตร์ทางกายภาพของจีน
ภูมิศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมของจีน
จีนมีลักษณะทางภูมิศาสตร์แตกต่างกันมากมาย บางลักษณะแยกกลุ่มชนในประเทศจีน ลักษณะอื่น ๆ แยกอื่นออกจากส่วนอื่น ๆ ของโลก
|
แผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีความแตกต่างกัน
จีนกินเนื้อที่เกือบ
4 ล้านตารางไมล์ (ประมาณ 6.4 ล้านตารางกิโลเมตร) ประมาณ เท่ากับสหรัฐ เขตแดนทางกายภาพด้านหนึ่ง
ซึ่งแยกจีนออกจากบ้านเพื่อนบ้าน คือ ทะเลทรายโกบี (Gobi) อันแสนหฤโหด
แผ่นกระจายไปทั่วตอนเหนือของจีน ด้านตะวันออกของทะเลทรายโกบี คือ บริเวณที่ลุ่มกว้างใหญ่ซึ่งอาจมีน้ำขังหรือไม่มีก็ได้
(หรือมาบ) ที่ราบเหล่านี้กินเนื้อที่ด้านตะวันออกของจีนเป็นส่วนมาก
ทำให้เกิดเป็นภูมิภาคที่ทำเกษตรกรรมใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเขตแดนท่านตอนวันออกของประเทศ
ภูเขาขรุขระมากกว่า
2,000 ไมล์ทางด้านตะวันตก เป็นเขตแดนด้านตะวันตก ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
ที่ราบทิเบตก็มียอดเขาสูงมากมายซึ่งสูงมากกว่า 26,000 ฟุต ถัดจากที่ราบสูง มีเทือกเขาเล็ก
ๆ น้อย ๆ แผ่นกระจายไปทั่วด้านทิศตะวันออก เทือกเขาเหล่านี้ ที่สำคัญที่สุด คือ
เทือกเขาฉินหลิง ฉานดี (ออกเสียงตามภาษาอังกฤษ - Qinling Shandi -
CHIN-LING shahn-DEE) แยกจีนตอนเหนือออกจากจีนตอนใต้
ภูมิอากาศและอุณหภูมิเหมือนกันไปทั่วประเทศจีน
ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง อุณหภูมิในฤดูหนาวต่ำลงถึง
0 องศาฟาเรนไฮต์ (ประมาณ -17 องศาเซลเซียส)
แม่น้ำก็เย็นยะเยือกเป็นเวลาถึงครึ่งปี ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ทะเลทรายก็แห้งแล้งมาก แต่บนที่ราบด้านทิศตะวันออกของจีน ฝนตกหนัก
มรสุมสามารถพาฝนมาตกปีละ 250 นิ้ว น้ำฝนมากพอที่จะท่วมบ้านสองชั้นได้
แม่น้ำของประเทศจีน
แม่น้ำยิ่งใหญ่สองสายไหลจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกในประเทศจีน
คือ แม่น้ำหวงเหอ (Huang
He) หรือแม่น้ำเหลือง ยาวเหยียดเป็นระยะทางเกือบ 3,000 ไมล์
(ประมาณ 4,827 กิโลเมตร) ข้ามทางตอนเหนือของจีน แม่น้ำสายนี้เกิดน้ำท่วมเป็นประจำและกระแสน้ำท่วมก็ทิ้งดินตะกอนหลายชั้นบนชนบทรอบ
ๆ ประเทศ เนื่องจากกระแสน้ำท่วมเหล่านี้สามารถทำลายล้างได้มากมาย
บางครั้งแม่น้ำสายนี้จึงเรียกว่า “โศกาแห่งชาติจีน (China’s Sorrow)” หรือแม่น้ำวิปโยค เป็นเวลามากกว่าหลายปี
ประชาชนหลายล้านคนได้เสียชีวิตจากน้ำท่วมของแม่น้ำหวงเหอ
ทางทิศใต้
แม่น้ำสายที่สอง คือ แม่น้ำฉางเจียง หรือ แยงซี (Chang Jiang or Yangzi) ไหลจากภูเขาในประเทศทิเบตลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก
แม่น้ำฉางเจียงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย (ยาว 6,300 กิโลเมตร
หรือประมาณ 3,915 ไมล์)
ในประเทศจีนยุคแรก
แม่น้ำสองสายนี้เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกันของประชาชนทางด้านตะวันออกกับด้านทิศตะวันตกของประเทศ
ในเวลาเดียวกันนั้น
ภูเขาหลายเทือกที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสายนี้ทำให้เกิดข้อจำกัดในการติดต่อสัมพันธ์กัน
เริ่มต้นอารยธรรม
ประชาชนในประเทศคล้ายกับประชาชนยุคโบราณในดินแดนอื่น
ๆ ชอบตั้งหลักแหล่งครั้งแรกตามลำแม่น้ำ โดยจะทำการเกษตร สร้างบ้านสร้างเมืองตามลำแม่น้ำและสร้างเป็นอารยธรรม
|
วิวัฒนาการของเกษตรกรรม
การทำเกษตรกรรมในประเทศเริ่มต้นตามลำแม่น้ำหวงเหอและแม่น้ำฉางเจียง
สายน้ำหลากของแม่น้ำสองสายนั้นได้ทิ้งดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ไว้
ตะกอนที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ได้สร้างดินแดนในอุดมคติสำหรับปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร
อย่างเร็วที่สุดเมื่อ
7000 ปีก่อนคริสตกาล เหล่าเกษตรกรได้ปลูกข้าวในลุ่มแม่น้ำฉางเจียงตอนกลาง
ทางตอนเหนือ ตามลำแม่น้ำหวงเหอ มีพื้นดินสำหรับปลูกธัญพืช เช่น
ข้าวฟ่างและข้าวสาลีได้ดีกว่า
พร้อมกับการทำเกษตรกรรม
ชาวจีนยุคแรกก็ได้เพิ่มพูนอาหารในด้านอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การตกปลา
ล่าสัตว์ด้วยธนูและลูกศร พวกเขายังเลี้ยงสัตว์ เช่น หมูและแกะ
เมื่อมีทรัพยากรอาหารมากขึ้น ประชากรก็เจริญรุ่งเรือง
การตั้งหลักแหล่งในยุคแรก
นักโบราณคดีได้ค้นพบซากหมู่บ้านชาวจีนในยุคแรก
หมู่บ้านแห่งหนึ่งตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำหวงเหอมีบ้านพักมากกว่า 40 หลัง
บ้านพักมากมายมีบางส่วนอยู่ใต้ดินและมีหลังคามุงด้วยฟาง
สถานที่แห่งนี้ยังรวมถึงคอกสัตว์ บ่อเก็บของ และสุสาน
หมู่บางแห่งตามลำแม่น้ำหวงเหอเจริญเติบโตกลายเป็นเมืองใหญ่
มีกำแพงล้อมรอบเพื่อป้องกันน้ำท่วมและประเทศใกล้เคียงที่เป็นปรปักษ์ ในเมืองหลายเมืองเหมือนกับเมืองเหล่านี้
ชาวจีนจะทิ้งสิ่งประดิษฐ์ เช่น หัวลูกศร เบ็ดตกปลา เครื่องมือ
และเครื่องปั้นดินเผา บางหมู่บ้านมีแม้กระทั่งเสื้อผ้าเป็นชิ้น ๆ
วัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้พัฒนาในทางตอนใต้และตอนตะวันออกเฉียงเหนือของจีน
วัฒนธรรมเหล่านี้รวมทั้งชาวซานซิงตุย (Sanxingdui) และ ชาวหงชาน (Hongshan) ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเหล่านี้มีน้อยมาก
ในขณะที่วัฒนธรรมสำคัญตามลุ่มแม่น้ำหวงเหอและฉางเจียงเจริญรุ่งเรือง ก็ซึมซับวัฒนธรรมอื่น
ๆ
เมื่อเวลาผ่านไป
วัฒนธรรมจีนก็เจริญรุดหน้ามากขึ้น หลังจาก 3000 ปีก่อนคริสตกาล ประชาชนใช้ล้อดินเผาในการทำเครื่องปั้นดินเผามากมายหลายชนิด
ประชาชนเหล่านี้ยังเรียนรู้ในการขุดบ่อน้ำด้วย ในขณะที่ประชากรเจริญเติบโต
หมู่บ้านก็ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้างขึ้น
ทั้งในตอนเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
สถานที่ฝังศพให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมแห่งยุคนี้
จีนในยุคแรก คล้ายกับอียิปต์ มีหลุมฝังศพเต็มไปด้วยวัตถุต่าง ๆ
สุสานบางแห่งมีภาชนะบรรจุอาหาร การแนะนำศรัทธาในชีวิตหลังความตาย
สุสานบางแห่งมีวัตถุต่าง ๆ มายกมายกว่าแห่งอื่น ๆ
ความแตกต่างกันเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ระเบียบทางสังคมมีการพัฒนาแล้ว
สุสานของเศรษฐีมักจะจัดเครื่องเพชรพลอยสวยและวัสดุอื่น ๆ ที่ทำจากหยก ซึ่งเป็นเพชรพลอยที่ยังไม่เจียระไนอย่างแท้จริง
|
ราชวงศ์แรกของจีน
สังคมตามลำแม่น้ำหวงเหอวิวัฒนาการจนกระทั่งมีความสลับซับซ้อน
ในที่สุดสังคมเหล่านั้น ก็ก่อตัวเป็นอารยธรรมแห่งแรกของจีน
ราชวงศ์เซี่ย (Xia Dynasty)
ในเรื่องราวในสมัยโบราณ
มีกษัตริย์ปกครองจีนในยุคแรกเป็นชุด ประมาณ 2200 ปี ก่อนคริสตกาล
มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ยู้ (Yu หรือเซี่ยหวี) มหาราช ได้รับการขอร้องให้ก่อตั้งราชวงศ์เซี่ย
นักเขียนหลายท่านได้เล่าถึงน้ำหลากอันน่าสยดสยองในยุคสมัยของกษัตริย์ยู้
ตามเรื่องราวเหล่านี้กล่าวว่า
กษัตริย์หยูได้ขุดร่องน้ำเพื่อระบายน้ำไปสู่มหาสมุทร ความพยายามนี้
พระองค์ได้ใช้เวลามากกว่า 10 ปี และกล่าวกันว่า
พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างทางน้ำสำคัญหลายสายทางตอนเหนือของจีน
นักโบราณคดีหลายคนยังค้นไม่พบหลักฐานซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับราชวงศ์เซี่ยที่เป็นจริง
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของนักปกครองเซี่ย มีความสำคัญกับจีนสมัยโบราณ
เนื่องจากนักปกครองเหล่านั้นได้บอกเล่าให้กษัตริย์ผู้ช่วยเหลือประชาชนให้แก้ปัญหาด้วยการทำงานร่วมกัน
เรื่องราวหลายยังอธิบายภูมิศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนเช่นนั้น
ราชวงศ์ซาง (Shang Dynasty)
ราชวงศ์แรกที่พวกเรามีหลักฐานอย่างชัดเจน
คือ ราชวงศ์ซาง ซึ่งสถาปนาอย่างมั่นคงประมาณศตวรรษที่ 1500 ก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ซาง
เป็นราชวงศ์ที่แข็งแกร่งที่สุดในลุ่มแม่น้ำหวงเหอ
ได้ปกครองบริเวณประเทศจีนตอนเหนืออย่างกว้างขวาง นักปกครองซาง
ได้อพยพเมืองหลวงหลายครั้งหลายครา บางที
อาจจะเป็นหลีกเลี่ยงกระแสน้ำหลากหรือการโจมตีของศัตรู
กษัตริย์เป็นศูนย์กลางของการเมืองแห่งราชวงศ์ซางและการดำเนินชีวิตทางด้านศาสนา เหล่าคนชั้นสูงได้บริการกษัตริย์ในฐานะเป็นผู้ให้คำปรึกษาและในการปกครองของพระองค์ คนชั้นสูงเหล่านั้นจะทำหน้าที่ทางด้านการบริหารและการศาสนาเป็นการเฉพาะ |
ระเบียบทางสังคมจัดตั้งได้มากขึ้นภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซาง
ราชตระกูลและชนชั้นสูงอยู่ในระดับสูงสุด ชนชั้นสูงเป็นเจ้าของที่ดินมากมาย
และพวกเขาก็โอนถ่ายความมั่งคั่งและอำนาจไปสู่ลูกหลาย
ผู้นำนักรบจากภูมิภาคที่อยู่ไกลออกไปจากจักรวรรดิก็ยังมีระดับสูงในสังคมด้วย คนส่วนมากในชนชั้นการปกครองแห่งราชวงศ์ซางจะอาศัยอยู่ในบ้านพักอันใหญ่โตในเมืองใหญ่
ช่างฝีมือตั้งหลักแหล่งอยู่นอกกำแพงเมือง
พวกเขาอาศัยกันอยู่เป็นกลุ่มตามอาชีพที่ทำ ช่างฝีมือบางพวกก็ทำอาวุธ
ช่างฝีมือพวกอื่น ๆ ทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือ หรือเครื่องนุ่งห่ม
ช่างฝีมือมีความสำคัญอยู่ในระดับกลางในสังคมซาง
เหล่าเกษตรกรอยู่ในระดับล่างช่างฝีมือในระเบียบทางสังคม
เหล่าเกษตรกรทำงานนานหลายชั่วโมง แต่มีเงินน้อย เสียภาษีมาก
ทาสซึ่งเป็นชั้นชนต่ำสุดในสังคมเป็นแหล่งแรงงานที่สำคัญในยุคราชวงศ์ซาง
การเขียนในราชวงศ์ซางมีการค้นพบบนกระดูกวัวควายและกระดองเต่าหลายพันอัน
นักบวชได้แกะสลักคำถามเกี่ยวกับอนาคตบนกระดูกและกระดอง ซึ่งเผาแล้ว
อันเป็นสาเหตุให้กระดูกและกระดองเหล่านั้นแตกร้าว นักบวชเชื่อ
กระดูกและกระดองเหล่านั้นสามารถอ่านรอยแตกร้าวเหล่านี้ได้เพื่อทำนายอนาคต กระดูกเรียกว่ากระดูกแห่งคำพยากรณ์
เพราะว่าคำพยากรณ์คือคำทำนาย
นอกเหนือจากการเขียน
ราชวงศ์ซางยังได้สร้างความสำเร็จมากมาย
ช่างฝีมือได้สร้างภาชนะสัมฤทธิ์สวยงามสำหรับทำอาหารและพิธีกรรมทางศาสนา
พวกเขายังทำขวาน มีด และเครื่องประดับจากหยก ทหารได้พัฒนารถทำสงคราม ธนูที่มีประสิทธิภาพ
และเสื้อเกราะป้องกันตัวจากสัมฤทธิ์ เหล่าโหราจารย์แห่งราชวงศ์ซางยังได้สร้างผลงานที่สำคัญด้วย
โหราจารย์เหล่านั้นได้พัฒนาปฏิทินที่มีดวงจันทร์เป็นพื้นฐาน
|