แปลจาก...Word History ของ McDougal Littel
แปลโดย...ทรงศักดิ์ สายหยุด

อินเดียโบราณ/จักรวรรดิต่าง ๆ

จักรวรรดิอินเดีย
จักรวรรดิเมารยะรวมอินเดียเป็นเอกภาพ
เมื่อศตวรรษที่ 320 ก่อนคริสตกาล ผู้นำทางทหารนามว่า จันทรคุปตะ  เมารยะ ได้ยึดครองอินเดียทั้งหมด แล้วพระองค์ก็ก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ เมารยะใช้เวลาปกครองประมาณ 150 ปี

จักรวรรดิเมารยะ
จันทรคุปตะ เมารยะปกครองจักรวรรดิของพระองค์ด้วยการช่วยเหลือของรัฐบาลผสม รวมทั้งเครือข่ายจารบุรุษและกองทัพทหารขนาดมหึมา ประมาณ 600,000 คน ยังมีช้างสงครามหลายพันเชือกและมีรถสงครามหลายพันคัน  เกษตรกรได้จ่ายภาษีจำนวนมากให้กับรัฐบาล เพื่อจ่ายเป็นค่าป้องกันจากกองทัพ
เมื่อ 301 ปีก่อนคริสตกาล จันทรคุปตะได้ตัดสินใจบวชเป็นพระในศาสนาเชน ดังนั้น พระองค์จึงต้องสละราชบัลลังก์ พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ให้กับโอรส ผู้ที่ดำเนินการขยายจักรวรรดิต่อไป อีกไม่นาน เมารยะก็ปกครองอินเดียตอนเหนือทั้งหมดและอินเดียตอนกลางเป็นส่วนมาอีกด้วย

พระเจ้าอโศก
ประมาณ 270 ปีก่อนคริสตกาล หลานของจันทรคุปตะ คือ อโศก ได้ขึ้นครองราชย์ พระเจ้าอโศก เป็นนักปกครองที่แข็งแรง แข็งแรงที่สุดในบรรดาเหล่าจักรพรรดิเมารยะ พระองค์ได้ขยายการปกครองทั่วอินเดียมากที่สุด ในขณะที่พิชิตจักรวรรดิอื่น ๆ พระเจ้าอโศกทรงสร้างจักรวรรดิของพระองค์ให้เข้มแข็งและร่ำรวยมากขึ้น
เป็นเวลาหลายปี พระเจ้าอโศกทรงเห็นกองทัพของพระองค์หลั่งเลือดต่อสู้กับประชาชนคนอื่น ๆ  อย่างไรก็ตาม สองสามปีในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ พระเจ้าอโศกทรงเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ในขณะที่พระองค์หันมานับถือพุทธ พระองค์ทรงปฏิญาณว่าจะไม่ก่อสงครามพิชิตใด ๆ อีก

หลังจากเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกก็สละเวลาและทรัพยากรเพื่อปรับปรุงชีวิตประชาชนของพระองค์ พระองค์ทรงรับสั่งให้ขุดบ่อน้ำและสร้างถนนไปทั่วจักรวรรดิ คนงานจะปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาตามถนนเหล่านี้และสร้างที่พักแรมให้กับคนเดินทางที่เหนื่อยล้ามาพักผ่อน พระองค์ยังทรงสนับสนุนให้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในอินเดียและส่วนอื่น ๆ ของเอเชีย ด้วยการส่งพระธรรมทูตไปเผยแพร่ทุกดินแดนทั่วเอเชีย

พระเจ้าอโศกสิ้นพระชนม์เมื่อ 233 ปีก่อนคริสตกาล และจักรวรรดิก็ล่มสลายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน โอรสของพระองค์ได้ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงอำนาจ และเหล่าผู้รุกรานก็เข้ามาคุกคาม เมื่อ 184 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์เมารยะองค์สุดท้ายก็ถูกแม่ทัพของพระองค์เองคนหนึ่งปลงพระชนม์ อินเดียได้แยกเป็นรัฐเล็ก ๆ มากมายอีกครั้งหนึ่ง

ผู้นำคุปตะให้การยกย่องเชิดชูศาสนาฮินดู
หลังจากจักรวรรดิเมารยะล่มสลาย อินเดียจงคงแตกแยกเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้น ศาสนาพุทธยังเจริญรุ่งเรืองและเผยแพร่ในอินเดียต่อไป และด้วยเหตุนั้น ความนิยมของศาสนาฮินดูจึงเสื่อมคลาย


แผนที่จักรวรรดิเมารยะ 320 - 185 ปี ก่อน ค.ศ.


กองทัพเมารยะใช้ช้างศึกในการทำสงครามข่มขู่ในสงคราม ช้างจะเดินอยู่ทัพหน้า
ทหารนั่งอยู่บนหลังช้างขว้างหอกไปยังศัตรู
จักรวรรดิฮินดูใหม่
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดราชวงศ์ใหม่ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นในอินเดีย คือ ราชวงศ์คุปตะ ซึ่งปกครองอินเดียประมาณ คริสต์ศักราช 320 (พ.ศ. 863) ภายใต้การปกครองของราชวงศ์คุปตะ อินเดียก็เป็นเอกราชอีกครั้ง และมีความเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง
จักรพรรดิคุปตะองค์ คือ จันทรคุปตะ ที่ 1 แม้ว่านามของกษัตริย์เหล่านั้นจะคล้ายกับราชวงศ์เมารยะ ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันกับจันทรคุปตะ เมารยะ จากฐานในอินเดียตอนเหนือ กองทัพของจันทรคุปตะก็ได้บุกและพิชิตดินแดนใกล้เคียง ในที่สุด พระองค์ก็ได้นำอินเดียตอนเหนือส่วนมากมาอยู่ภายใต้การปกครอง
โอรสของจันทรคุปตะ คือ สมุทรคุปตะ ก็ได้เจริญรอยตามพระองค์ เป็นผู้นำกองทัพที่กล้าหาญ พระองค์ได้ทำสงครามเพื่อพิชิตต่อไป ด้วยการทำสงครามต่อสู้กับผู้คนที่เป็นเพื่อบ้าน ด้วยการทำสงครามเหลานี้ สมุทรคุปตะก็ได้ขยายดินแดนให้กับจักรวรรดิของพระองค์มากขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใกล้จะสิ้นพระชนม์ พระองค์ปกครองลุ่มแม่น้ำคงเกือบจะทั้งหมด
อารยธรรมอินเดียก็เจริญรุ่งเรืองภายในการปกครองของราชวงศ์คุปตะ ราชวงศ์นี้เป็นฮินดู ดังนั้น ศาสนาฮินดูจึงกลายเป็นศาสนาสำคัญของอินเดีย กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะได้สร้างวัดฮินดู (เรียก เทวาลัย) ซึ่งบางแห่งก็กลายเป็นสถาปัตยกรรมของอินเดียในยุคต่อมา ราชวงศ์นี้ยังได้การสนับสนุนฟื้นฟูการเขียนและข้อปฏิบัติการเคารพศาสนาฮินดูด้วย
แม้ว่าราชวงศ์นี้จะเป็นฮินดู ก็ยังให้การสนับสนุนศรัทธาของศาสนาพุทธและเชนด้วย สนับสนุนศิลปะพุทธและได้สร้างวัดพุทธหลายแหง ทั้งยังได้สถาปนามหาวิทยาลัยที่นาลันทาซึ่งกลายมาเป็นศูนย์กลางการศึกษาของพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย (ก่อนที่จะถูกอิสลามทำลาย)

สังคมคุปตะ
ใน ค.ศ. 375 (พ.ศ. 918) จักรพรรดิจันทรคุปตะ ที่ 2 ได้ครองราชย์ในอินเดีย สังคมคุปตะได้ถึงจุดสูงสุดในยุคของพระองค์  ภายใต้การปกครองของจันทรคุปตะ ที่ 2 จักรวรรดิก็ยังเจริญรุ่งเรืองต่อไป ในที่สุด ก็ขยายยาวเหยียดออกไปถึงอินเดียตอนเหนือ ในเวลาเดียวกันนั้น เศรษฐกิจของจักรวรรดิก็เข้มแข็งขึ้น และประชาชนก็เจริญรุ่งเรือง ประชาชนได้สร้างงานด้านศิลปะและวรรณคดีอันสวยงาม ประชาชนภายนอกก็นิยมชมชอบความมั่งคั่งและความสวยงามของจักรวรรดิ
กษัตริย์คุปตะเชื่อว่าการจัดระเบียบสังคมแบบระบบวรรณะฮินดูน่าจะทำให้การปกครองเข้มแข็ง และยังคิดว่าระบบนั้นจะรักษาจักรวรรดิให้มั่นคง เป็นผลให้ราชวงศ์คุปตะถือว่าระบบวรรณะเป็นส่วนสำคัญของสังคมอินเดีย
การปกครองของราชวงศ์คุปตะยังคงเข้มแข็งในอินเดียจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 400 ในเวลานั้น ชาวฮั่น ซึ่งเป็นกลุ่มคนจากเอเชียกลาง ได้บุกรุกอินเดียจากทางตะวันตกเฉียงเหนือ ความโหดร้ายของชาวฮั่นได้โจมตีกวาดล้างอำนาจและความมั่งคั่งของจักรวรรดิคุปตะ ในขณะที่กองทัพชาวฮั่นเรียงหน้าบุกรุกไปไกลถึงอินเดีย ราชวงศ์คุปตะจึงสูญสิ้นความหวัง
ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 500 ราชวงศ์คุปตะก็ล่มสลาย และอินเดียก็ได้แตกแยกเป็นราชอาณาจักรเล็กน้อยอีกครั้งหนึ่ง


แผนที่จักรวรรดิคุปตะ ค.ศ. 400
ภาพวาดสมัยคุปตะนี้ เป็นฉากหนึ่งในพระราชวัง แสดงความแตกต่างระหว่างวรรณะของอินเดีย
ราชวงศ์คุปตะสนับสนุนศาสนาฮินดูและระบบวรรณะ








 พระเจ้าอโศกมหาราช

        มีชีวิตเมื่อ 230 ปีก่อนคริสตกาล  จักรวรรดิของพระเจ้าอโศกประกอบด้วยอินเดียตอนเหนือและตอนกลาง หลังจากการต่อสู้ในสงครามเลือดมากมายหลายครั้งเพื่อขยายจักรวรรดิ พระเจ้าอโศกได้สละความโหดร้ายและเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์เป็นนักปกครองผู้น่าเคารพมากที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของอินเดียและเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ในขณะที่พระองค์อุทิศตนให้พระพุทธศาสนา พระองค์ได้ทำงานเผยแพร่พระพุทธศาสนา พร้อมกับการส่งคณะพระธรรมทูตไปทั่วเอเชีย พระองค์ก็ได้สร้างเสาหินมหึมาสลักคำสอนพระพุทธศาสนาทั่วอินเดีย ด้วยความพยายามอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ พระพุทธศาสนาจึงกลายเป็นศาสนาหลักของเอเชีย





สถูปสาญจี สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช