กูชโบราณ (Ancient Kush)
|
||
ภูมิศาสตร์ของนูเบียยุคแรก
ทางตอนใต้ของอียิปต์
มีกลุ่มผู้คนที่ตั้งรกรากในภูมิภาคที่ปัจจุบันนี้เรียกกันว่า นูเบีย (Nubia)
ชาวแอฟกันเหล่านี้ได้ก่อตั้งอาณาจักรแห่งแรกในตอนกลางทวีปแอฟริกา
เรารู้จักอาณาจักรนี้ตามชื่อที่ชาวอียิปต์ตั้งให้ คือ กูช (Kush) วิวัฒนาการของสังคมกูชได้รับอิทธิพลจากภูมิศาสตร์ของนูเบียเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแสดงบทบาทตามลำแม่น้ำไนล์
|
||
แผ่นดินนูเบีย
ปัจจุบันนี้
ทะเลทรายปกคลุมนูเบียเป็นส่วนมาก แต่ในครั้งโบราณ ภูมิภาคนี้อุดมสมบูรณ์มากกว่าปัจจุบันนี้
ฝนไหลหลากท่วมแม่น้ำไนล์ทุก ๆ ปี
เตรียมชั้นโคลนอันอุดมสมบูรณ์ให้กับแผ่นดินบริเวณรอบ ๆ
อาณาจักรกูลพัฒนาในบริเวณอันอุดมสมบูรณ์นี้
นูเบียโบราณอุดมไปด้วยแร่ธาตุมากมาย
เช่น ทองคำ ทองแดง และหิน ทรัพยากรเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของบริเวณนี้และสนับสนุนให้เกิดความมั่งคั่ง
อารยธรรมยุคแรกในนูเบีย
เหมือนกับอารยธรรมยุคแรกทั้งหมด
ผู้คนในนูเบียได้อาศัยเกษตรกรรมเป็นอาหาร เป็นความโชคดีสำหรับผู้คนเหล่านั้น
กระแสน้ำหลากแห่งแม่น้ำไนล์ทำให้นูเบียปลูกพืชพันธุ์ได้ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว ในบรรดาพืชพันธุ์เหล่านั้นที่ผู้คนปลูก
คือ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวอื่น ๆ
นอกจากที่ดินทำมาหากินแล้ว
ฝั่งแม่น้ำไนล์ยังให้ทุ่งเลี้ยงสัตว์สำหรับเลี้ยงปศุสัตว์
เป็นผลให้หมู่บ้านเกษตรกรรมมีความเจริญเติบโตทั่วไปตามลำแม่น้ำไนล์ เมื่อประมาณ
3,500 ปีก่อนคริสตกาล
เมื่อเวลาผ่าน
เกษตรกรบางพวกมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าเกษตรกรพวกอื่น ๆ
เกษตรกรเหล่าจึงกลายเป็นผู้นำหมู่บ้าน บางครั้ง ประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล
ผู้นำเหล่านี้คนหนึ่งได้ปกครองหมู่บ้านอื่น ๆ
และสถาปนาตัวเองให้เป็นกษัตริย์แห่งภูมิภาคนี้ ราชอาณาจักรใหม่ของพระองค์
จึงเรียกว่า กูช
กษัตริย์แห่งกูชได้ปกครองตั้งแต่เมืองหลวงที่เคอร์มา
(Kerma) เมืองหลวงนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไนล์
เพียงแค่ลงไปทางใต้น้ำตกสูงชันแห่งที่สาม เนื่องจากน้ำตกสูงชันของแม่น้ำไนล์ให้แม่น้ำไนล์หลายส่วนผ่านไปได้ยาก
น้ำตกสูงชันเหล่านั้นจึงเป็นแนวกั้นเขตทางธรรมชาติต่อผู้รุกราน เป็นเวลาหลายปี
น้ำตกสูงชันเหล่านั้นได้รักษาความปลอดภัยจากราชอาณาจักรอียิปต์ที่มีอำนาจมากกว่าที่อยู่ทางทิศเหนือ
เมื่อเวลาผ่านไป
สังคมกูลก็เจริญสลับซับซ้อนมากขึ้น นอกจากเกษตรกรและคนเลี้ยงปศุสัตว์แล้ว
ชาวกูชบางพวกก็เป็นนักบวชและช่างฝีมือ
กูชในยุคแรกได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทางตอนใต้ ต่อมา
อียิปต์จึงมีบทบาทยิ่งใหญ่ขึ้นในประวัติศาสตร์ของกูช
กูชและอียิปต์
กูชและอียิปต์เป็นเพื่อบ้านกัน
บางครั้ง เพื่อนบ้านก็อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข
ช่วยกันและกันให้เกิดความรุ่งเรือง ยกตัวอย่างเช่น กูชเป็นผู้จัดหาทั้งทาสและวัตถุดิบรายสำคัญให้กับอียิปต์
ชาวกูชได้ส่งวัตถุดิบ เช่น ทองคำ ทองแดงและหินไปยังอียิปต์ และยังได้จัดส่งไม่เนื้อแข็งสีดำและงาช้างไปให้อียิปต์ด้วย
อียิปต์พิชิตกูช
อย่างไรก็ตาม
ความสัมพันธ์ระหว่างกูชกับอียิปต์ไม่ได้อยู่ในสันติภาพเสมอไป
ในขณะที่กูชรุ่งเรืองมั่งคั่งจากการค้าขาย และยังมีกองทัพที่แข็งแกร่งอีกด้วย
ในไม่ช้า ผู้ปกครองชาวอียิปต์ก็กลัวว่า กูชจะมีความเจริญรุ่งเรืองมีอำนาจมากกว่าและจะเข้าโจมตีอียิปต์
|
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีดังกล่าว
ฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 ก็ได้ส่งกองทัพไปยึดกูชประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล
กองทัพของฟาโรห์ได้พิชิตนูเบียที่อยู่ทางตอนเหนือของน้ำตกสูงชันแห่งที่ห้าทั้งหมด
เป็นผลให้กูชตกเป็นส่วนหนึ่งของอียิปต์
หลังจากกองทัพของฟาโรห์ได้รับชัยชนะ
พระองค์ได้ทำหลายเมืองเคอร์มา ที่เป็นเมืองหลวงของกูช
ต่อมาฟาโรห์รวมทั้งรามเสสมหาราชก็ได้สร้างวิหารขนาดมหึมาในดินแดนของกูช
ผลกระทบจากการพิชิต
กูชยังคงเป็นอาณานิคมของอียิปต์
เป็นเวลาประมาณ 450 ปี ในช่วงเวลานั้น
อิทธิพลของอียิปต์ที่มีเหนือกูชก็รุ่งเรืองเต็มที่
ภาษาอียิปต์ก็กลายเป็นภาษาทางการของภูมิภาคนี้
ชาวกูชจำนวนมากได้ใช้ชื่ออียิปต์และสวมเสื้อผ้าสไตล์อียิปต์
และยังยอมรับนับถือศาสนาแบบอียิปต์ด้วย
การเปลี่ยนแปลงอำนาจ
ในช่วงกลางศตวรรษที่
1000 ก่อนคริสตกาล ราชอาณาจักรใหม่ในอียิปต์ก็สิ้นสุดลง
ในขณะที่อำนาจของฟาโรห์อียิปต์สิ้นสุดลง ผู้นำกูชก็ยึดการปกครองกูชคืนมา
กูชก็กลายเป็นเอกราชอีกครั้ง
พวกเราเกือบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกูชนับตั้งแต่เวลาที่ได้รับเอกราชจนถึง
200 ปี ต่อมา กูชไม่ได้รับการกล่าวถึงด้วยการบันทึกทางประวัติศาสตร์ใด ๆ
ในช่วงศตวรรษเหล่านี้เลย
การพิชิตอียิปต์
เมื่อประมาณ
850 ปี ก่อนคริสตกาล กูชได้ฟื้นฟูความแข็งแกร่งกลับคืนมา มีความแข็งแกร่งอีกครั้ง
พอ ๆ กับช่วงเวลาก่อนที่กูชจะถูกอียิปต์พิชิต เนื่องจากชาวอียิปต์ได้ยึดและทำลายเมืองเคอร์มา
กษัตริย์กูชได้ปกครองตั้งแต่เมืองนาปาตา (Napata) เมืองนาปาตาสร้างโดยชาวอียิปต์
อยู่บนฝั่งแม่น้ำไนล์ ประมาณ 100 ไมล์ไปทางใต้ของเมืองเคอร์มา
ในขณะที่กูชมีความเข้มแข็งมากขึ้น
อียิปต์ก็เกิดความอ่อนแออย่างมาก ฟาโรห์ที่ไร้ความสามารถก็ปล่อยให้อียิปต์ถูกโจมตีเป็นระยะ
ๆ เมือศตวรรษที่ 700 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์กูชนามว่า กัชตา (Kashta)
ก็ฉกฉวยโอกาสที่อียิปต์อ่อนแอและโจมตีอียิปต์ เมื่อประมาณ 751 ปี ก่อนคริสตกาล
พระองค์ได้พิชิตอียิปต์ตอนบนแล้วก็สถาปนาความสัมพันธ์กับอียิปต์ตอนล่าง
หลังจากกษัตริย์กัชตาสวรรคต
โอรสของพระองค์นามว่า เปียงคี (Piankhi) ก็โจมตีอียิปต์ต่อไป
กองทัพของกูชได้ยึดเมืองของอียิปต์มากมาย รวมทั้งเมืองโบราณ เปียงคี (ไปอันคี,
ปิอันคี – ข้อมูลไม่มีเลย) ได้ต่อสู้กับชาวอียิปต์
เนื่องจากพระองค์เชื่อว่า เทพเจ้าทั้งหลายต้องการให้พระองค์ปกครองอียิปต์ทั้งหมด
ก่อนเวลาที่พระองค์จะสวรรคตเมื่อประมาณ 716 ปีก่อนคริสตกาล
เปียงคีก็ได้ทำภารกิจนี้สำเร็จ
ราชอาณาจักรของพระองค์ขยายไปทางเหนือตั้งแต่เมืองนาปาตาจนถึงสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์
|
ซากปรักหักพังของพีระมิดกูชโบราณตั้งอยู่ด้านหลังสิ่งที่ก่อสร้างใหม่นี้
ดูเหมือนสร้างในสมัยเริ่มแรก
|
ราชวงศ์ของกูช
หลังจากเปียงคีสวรรคต
น้องชายของพระองค์คือ ชาบากา (Shabaka) ก็ได้ปกครองราชอาณาจักร ครั้นแล้ว
ชาบากาก็ประกาศตัวเองเป็นฟาโรห์ การประกาศนี้เริ่มขึ้นเป็นราชวงศ์ที่ 25
หรือราชวงศ์กูชในอียิปต์
ชาบากาและผู้ปกครองในลำดับต่อมาแหงราชวงศ์ของพระองค์เชื่อว่า
กษัตริย์ในราชวงศ์นี้ เป็นทายาทของฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตของอียิปต์
พวกเขาพยายามจะฟื้นฟูแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมของอียิปต์แบบเก่าและฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมที่เลือนลางไป
แนวทางปฏิบัติและวัฒนธรรมประเพณีเหล่านี้บางอย่างได้รับการปล่อยปละละเลยในช่วงเวลาที่อียิปต์เกิดความอ่อนแอ
ยกตัวอย่างเช่น ชาบากาก็ได้รับการทำพิธีฝังพระศพในพีระมิด
ชาวอียิปต์ได้หยุดสร้างพีระมิดให้นักปกครองมาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนหน้านั้น
ผู้ปกครองชาวกูชของอียิปต์ได้สร้างวิหารใหม่ให้กับเทพเจ้าอียิปต์และฟื้นฟูวิหารเก่า
ๆ หลายแห่ง พวกเขายังได้ทำงานเพื่ออนุรักษ์การเขียนของอียิปต์ เป็นผลให้วัฒนธรรมอียิปต์เจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาแห่งราชวงศ์ที่
25
สิ้นสุดการปกครองของกูชในอียิปต์
ราชวงศ์กูชยังคงมีความเข้มแข็งในอียิปต์เป็นเวลาประมาณ
40 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อ ศตวรรษที่ 670 ก่อนคริสตกาล กองทัพอันเกรียงไกรของชาวอัสซีเรีย
จากเมโสโปเตเมียก็เข้ารุกรานอียิปต์
อาวุธเหล็กของอัสซีเรียมีประสิทธิภาพดีกว่าอาวุธสัมฤทธิ์ของกูช แม้ว่ากูชจะมีพลธนูผู้มีทักษะ
พวกเข้าก็สามารถหยุดการรุกรานได้ กูชจึงถูกผลักดันลงไปทางใต้แทน เพียง 10 ปี
ชาวอัสซีเรียก็ขับไล่กองทัพกูชออกจากอียิปต์ได้อย่างสิ้นเชิง
กูชยุคต่อมา
หลักจากพวกกูชสูญเสียการครอบครองอียิปต์
ผู้คนชาวกูชก็ทุ่มเทตนเองให้กับเกษตรกรรมและพาณิชยกรรม ด้วยความหวังที่ทำให้ประเทศของตนเองกลับมาร่ำรวยอีกครั้ง
ภายในสองสามศตวรรษ
ราชอาณาจักรกูชก็รุ่งเรืองและเกรียงไกรมากกว่าเก่าอย่างแท้จริง
อุตสาหกรรมเหล็กของกูช
ศูนย์กลางเศรษฐกิจของกูชในระหว่างเวลานี้อยู่ที่เมืองมีโร
(Meroë) ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ของอาณาจักร
ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ ช่วยให้เศรษฐกิจของกูชเจริญรุ่งเรือง มีแหล่งทองคำขนาดใหญ่ที่สามารถค้นพบได้บริเวณรอบ
ๆ ป่าไม้เนื้อแข็งสีดำและไม้อื่น ๆ ก็พบได้เช่นกัน ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น
บริเวณรอบๆ เมืองมีโรอุดมไปด้วยแหล่งแร่เหล็กมากมาย
ณ ตำแหน่งนี้
ชาวกูชจึงได้พัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กเป็นแห่งแรกของแอฟริกา แร่เหล็กและไม้สำหรับเตาหลอม
ก็หาได้ง่าย ดังนั้น อุตสาหกรรมเหล็กจึงเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว
การขยายการค้าขาย
ในไม่ช้า
เมืองมีโรก็กลายเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายการค้าขายขนาดใหญ่
ซึ่งเป็นระบบของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ ที่มาค้าขายสินค้า ชาวกูชได้ส่งสินค้าลงไปตามแม่น้ำไนล์ไปยังอียิปต์
จากที่นั้น
เหล่าพ่อค้าชาวอียิปต์และกรีกก็นำสิ้นไปยังท่าเรือบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลแดง
ตลอดจนนำไปสู่แฟริกาตะวันตก ในที่สุด
สิ้นค้าเหล่านี้ อาจจะไปถึงอินเดียและบางทีไปถึงจีน
สินค้าส่งออกของกูช
ซึ่งส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเหล็ก
และงาช้าง เหล่าพ่อค้าชาวกูช ยังได้ส่งหนังเสือดาว ขนนกกระจอกเทศและช้างอีกด้วย ในทางกลับกัน
สินค้านำเข้า ที่กูชนำเข้ามาจากภูมิภาคอื่น ๆ เช่น
เครื่องเพชรพลอยอันสวยงามและสินค้าหรูหราจากอียิปต์ เอเชีย และดินแดนอื่น ๆ
ตามแนวทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
วัฒนธรรมกูช
ในขณะที่การค้าขายของกูชเจริญรุ่งเรือง
เหล่าพ่อค้าก็มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนจากวัฒนธรรมอื่น ๆ เป็นผลให้ประชาชน
|
ชาวกูชได้เชื่อมสัมพันธ์วัฒนธรรมประเพณีจากวัฒนธรรมอื่น
ๆ เข้ากับวัฒนธรรมกูชอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
อิทธิพลที่เด่นชัดมากที่สุดที่มีต่อวัฒนธรรมกูชก็คืออียิปต์
อาคารมากมายในเมืองมีโร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิหาร มีความคล้ายคลึงกับอียิปต์
ประชาชนส่วนมากในกูชเคารพนับถือเทพเจ้าของอียิปต์และสวมเสื้อผ้าแบบอียิปต์ ผู้ปกครองชาวกูชใช้นามว่า
ฟาโรห์ และพระศพก็ถูกฝังไว้ในพีระมิด
รากฐานของวัฒนธรรมกูชมากมายไม่ได้รับการถ่ายทอด
อาคารและการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวกูชมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกคนหนึ่งได้เขียนบันทึกความแตกต่างของกูชไว้ว่า
“อาคารบ้านช่องในเมืองหลายเมืองสร้างขึ้นจากการผสมผสานชิ้นส่วนของต้นปาล์มหรือก้อนอิฐ...
พวกเขาล่าช้าง สิงโต และเสือดำ
ยังมีงูใหญ่อีกด้วย...และมีสัตว์ชนิดอื่นมากมาย”
--สตราโบ (Strabo), The
Geographies
นอกจาเทพเจ้าของอียิปต์แล้ว
ชาวกูชก็นับถือเทพเจ้าของตนเอง พวกเขายังได้พัฒนาภาษาเขียนเป็นของตนเอง คือ ภาษา
มีโรอิติก (Meroitic) เป็นที่น่าเสียดายที่นักประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถเข้าใจภาษามีโรอิติกได้
สตรีในสังคมกูช
สตรีของกูชได้รับความคาดหวังว่าจะเป็นผู้มีความกระตือรือร้นในสังคม
พวกหล่อนทำงานในทุ่งนา เลี้ยงดูลูก ๆ ทำครัว และทำงานบ้านอื่น ๆ
สตรีชาวกูชบางคนขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงในทางราชการ
บางคนทำงานในฐานะเป็นผู้ช่วยผู้ปกครองร่วมกับสามีและบุตรของตนเอง
สตรีจำนวนเล็กน้อยที่ปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียว นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า
สตรีคนแรกที่ปกครองกูช คือ ราชินี ชานัคดาคีโต (Queen Shanakhdakheto) พระนางปกครองตั้งแต่
170 ถึง 150 ปี ก่อนคริสตกาล
การเสื่อมลงของกูช
กูชได้ค่อย ๆ
สูญสิ้นอำนาจตามลำดับ มีปัญหาภายในราชอาณาจักรมาเป็นระยะ ๆ ทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอ
ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ การที่ปศุสัตว์ของกูชถูกปล่อยให้กินหญ้ามากเกินไป เมื่อโคนมกินหญ้าหมด ลมก็พัดพาดินออกไป
ทำให้เกษตรกรผลิตอาหารได้น้อยลง
อีกอย่างหนึ่ง
ช่างเหล็กใช้ป่าไม้ใกล้เมืองมีโรจนหมดสิ้น ในขณะที่ไม้กลายเป็นสิ่งที่ขาดแคลน
เตาหลอมก็ถูกปิดลง กูชผลิตอาวุธและขายสินค้าได้น้อยลง
กูชยังมีความอ่อนแอจากการขาดทุนด้านการค้าขาย
พ่อค้าต่างแดนได้จัดตั้งเส้นทางการค้าขายใหม่ไปรอบ ๆ กูช เส้นทางการค้าขายดังกล่าวเส้นหนึ่งผ่านกูช
ไปสู่ทางที่ดีกว่า คือ อักซุม (Aksum) ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ตามฝั่งทะเลแดงซึ่งปัจจุบันคือ
ประเทศเอธิโอเปียและเอริเทรีย (Ethiopia and Eritrea) ในสองคริสต์ศตวรรษแรก
อักซุมเจริญมั่งคั่งจากการค้าขาย
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่
300 กูชสูญเสียความมั่งคั่งและความสามารถทางทหารมากมาย กษัตริย์แห่งอักสัมจึงได้เปรียบจากความอ่อนแอของคู่แข่งทางด้านการค้าขายในยุคต่อมา
เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 350 กองทัพอักสัมของกษัตริย์ เอซานา (King Ezana) ก็ได้ทำลายเมืองมีโรและปกครองกูช
ในปลายศตวรรษที่
300 ผู้ปกครองอักสัมกลายคริสเตียน ประมาณสองร้อยปีต่อมา
ชาวนูเบียหลายคนก็เปลี่ยนศาสนาด้วย อิทธิพลของกูชยุคสุดท้ายจึงสูญสิ้นไป
|
เปียงคี (Piankhi – มีชีวิตระหว่าง 751 – 716 ปี ก่อนคริสตกาล)
เปียงคี
เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า ปิเย เป็นผู้นำทางทหารผู้ประสบผลสำเร็จมากที่สุดของกูช
นักรบผู้ดุร้ายคนหนึ่งในสนามรบ เป็นกษัตริย์ผู้มีความเลื่อมใสทางศาสนาอย่างลึกซึ้ง
ความเชื่อของเปียงคีที่ว่า พระองค์เป็นผู้ช่วยเหลือเทพเจ้าทั้งหลาย
ได้เติมเชื้อเพลิงความกระตือรื้อร้นในการทำสงครามกับอียิปต์ ความกล้าหาญของพระองค์เป็นแรงบันดาลใจให้กองทัพของพระองค์ในสนามรบ
เปียงคีรักม้าของพระองค์และได้รับการฝังพระศพกับม้าชั้นเยี่ยมที่สุดของพระองค์
จำนวน 8 ตัว
|