ราชวงศ์โจว (Zhou Dynasty) และแนวความคิดใหม่
|
||
ราชวงศ์โจว (The Zhou Dynasty)
เมื่อศตวรรษที่
1100 ก่อนคริสตกาล เหล่าผู้นำประชาชนนามว่า โจว (Zhou) ได้ปกครองราชอาณาจักรจีน ท่านเหล่านั้นได้ร่วมมือกับเผ่าชนใกล้เคียงและโจมตีพร้อมทั้งล้มล้างราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์โจว จึงดำรงอยู่ได้นานกว่าราชวงศ์อื่นใดในประวัติศาสตร์จีน
|
||
ระบบการเมืองแห่งราชวงศ์โจว
กษัตริย์ราชวงศ์โจวอ้างตัวเองว่าได้รับบัญชาจากสวรรค์
ตามแนวคิดนี้ สวรรค์ได้ประทานอำนาจให้กับกษัตริย์หรือผู้นำ
และไม่มีใครปกครองโดยไม่ได้รับการยินยอมจากสวรรค์ ถ้ากษัตริย์ถูกตัดสินว่าเป็นคนเลว
สวรรค์ก็จะสนับสนุนผู้นำอีกคนหนึ่ง
กษัตริย์โจวเดินทางจากบริเวณแห่งหนึ่งไปสู่ทิศตะวันตกของราชอาณาจักรซาง
นักปกครองโจวยุคแรกใช้บัญชาแห่งสวรรค์เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตนเองที่ก่อกบฎต่อราชวงศ์ซาง
ต่อมานักปกครองโจวก็ขยายดินแดนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันออก
ในที่สุดก็ขยายการปกครองไปสู่ฉางเจียง (แม่น้ำแยงซี)
ราชวงศ์โจวได้ก่อตั้งระเบียบทางการเมืองขึ้นใหม่
โดยมอบที่ดินให้กับคนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับความจงรักภักดี
การสนับสนุนทางทหารและการบริการด้านอื่น ๆ กษัตริย์ราชวงศ์โจวอยู่ในระดับสูงสุด พระองค์ประทานที่ดินแปลงหนึ่งให้กับขุนนาง
หรือประชาชนที่อยู่ในระดับสูง
ขุนนางเสียภาษีและจัดทหารให้กับกษัตริย์ตามที่ต้องการ
ชาวไร่ชาวนาหรือเกษตรกรมีที่ทำกินเล็กน้อยอยู่ในระดับต่ำของระเบียบสังคม ครอบครัวชาวนาแต่ละครอบครัวได้รับที่ดินแปลงเล็ก
ๆ และต้องทำนาเพิ่มเติมให้กับขุนนาง ระบบนั้นได้อธิบายไว้ใน Book of Songs (หนังสือบทกวีโบราณของจีน
ว่า
“ทุกหนทุกแห่งภายใต้สวรรค์อันกว้างใหญ่ไพศาล
ไม่มีที่ดินที่ไม่ได้เป็นของกษัตริย์ ภายในขอบเขตที่ดินเหล่านั้น
ไม่มีผู้ใดที่ไม่ได้เป็นผู้รับใช้กษัตริย์”
จาก Book of Songs แห่งราชวงศ์โจว
ระบบของราชวงศ์โจวได้นำความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาสู่จีน
การปกครองผ่านขุนนางช่วยให้ราชวงศ์โจวปกครองบริเวณได้กว้างไกลและมั่นใจในความจงรักภักดีต่อกษัตริย์
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป ระเบียบทางการเมืองก็ล่มสลาย
ขุนนางโอนถ่ายอำนาจไปยังบุตรของตนเอง ผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์น้อยกว่า
นักปกครองท้องถิ่นได้รับอำนาจ พวกเขาเริ่มปฏิเสธอำนาจของกษัตริย์โจว
|
การสูญสิ้นอำนาจของราชวงศ์โจว
ในขณะที่ความจงรักภักดีของขุนนางที่มีต่อกษัตริย์ลดน้อยลง
คนจำนวนมากก็ปฏิเสธการต่อสู้กับผู้รุกราน เมื่อ 771 ปีก่อนคริสตกาล
เหล่าผู้รุกรานก็เดินทางมาถึงเมืองหลวง ตามตำนานเล่าว่า กษัตริย์ได้จุดไฟแจ้งเพื่อให้เพื่อน
ๆ สนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ละครั้งที่จุดไฟ
กองทัพของกษัตริย์ก็จะรุกเข้าสู่ประตูใหญ่ของเมืองหลวงเพื่อปกป้องพระองค์ ในขณะที่การโจมตีจริงมาถึง
ผู้คนคิดว่าไฟเป็นเพียงเรื่องล้อเล่นอีกอย่างหนึ่ง จึงไม่มีใครมา
ราชวงศ์โจวจึงพ่ายแพ้สงคราม แต่ราชวงศ์ยังคงอยู่รอด
หลังการพ่ายแพ้ครั้งนี้
เหล่าขุนนางก็เริ่มต่อสู้กันเอง เมื่อประมาณ 481 ปีก่อนคริสตกาล
จีนจึงเข้าสู่ศตวรรษที่เรียกว่า ยุครณรัฐ (The Warring States Period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการทำสงครามกลางเมืองมากมาย
กองทัพหลายกองทัพเติบโตขึ้น การต่อสู้เรื่องโหดร้ายและรุนแรงขึ้นในขณะที่เหล่าทหารก็ต่อสู้เพื่อแย่งดินแดน
ไม่ใช่เพื่อเกียรติยศ
ปัญหาภายใน
ความเสื่อมสลายของราชวงศ์โจวเกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างตระกูลของจีน
เป็นเวลาหลายศตวรรษ ตระกูลเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตในจีน ตระกูลใหญ่ ๆ
แห่งยุคต่าง ๆ มากมายก่อรูปเป็นกลุ่มอำนาจขึ้น ในขณะที่ตระกูลเหล่านี้แตกแยกกัน
พวกเข้าก็สูญสิ้นอำนาจ ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดก็กลายเป็นศัตรู
ข้อผูกพันแห่งความจงรักภักดียังมีความอ่อนแอในตระกูลเล็ก
ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนชั้นสูง บุตรทั้งหลายแย่งกันเพื่อเอามรดก บางครั้ง
บิดาผู้มั่งคั่งพยายามจะรักษาความสงบโดยการแบ่งที่ดินของตนเองในท่ามกลางบุตรของตนเอง
แต่ข้อนี้ก็ได้สร้างปัญหาขึ้นมาใหม่ บุตรแต่ละคนอาจจะสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองแล้วท้าทายพี่น้องขอตนเอง
ในช่วงยุครณรัฐ จีนขาดรัฐบาลที่เข้มแข็งเพื่อหยุดยั้งการต่อสู้แย่งชิงอำนาจภายในตระกูลของชนชั้นนักปกครอง
สังคมจีนตกอยู่ช่วงเวลาที่ไร้ระเบียบ
|
ยุครณรัฐ ในยุครณรัฐ กองทัพหลายพันกองทันพเข้าห้ำหั่นกันเพื่อแย่งดินแดน กองทัพหลายกองทัพใช้อาวุธใหม่ ๆ และเทคนิคการต่อสู้ ในสงครามกลางเมือง ซึ่งต่อสู้กันเป็นเวลามากกว่า 200 ปี |
ขงจื๊อกับสังคม
ในช่วงปลายราชวงศ์โจว
มีนักคิดหลายท่านเกิดแนวคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูระเบียบให้กับจีน
บุคคลเช่นนั้นคนหนึ่ง คือ ขงจื๊อ
กลายเป็นอาจารย์ผู้มีอิทธิพลมากในประวัติศาสตร์จีน ชาวตะวันตกเรียกชื่อขงจื๊อว่า Confucius ซึ่งมาจากคำจีนว่า ข่งฟูจื่อ (Kongfuzi)
ขงจื๊อมีความรู้สึกว่า
จีนถูกรุกล้ำด้วยบุคคลที่หยาบคายและไม่ซื่อตรง เมื่อสูญเสียความเป็นระเบียบเรียบร้อยและผู้คนขาดความประพฤติที่เหมาะสม
ขงจื๊อจึงกล่าวว่า ชาวจีนจำเป็นต้องกลับไปหาจริยธรรม หรือคุณค่าทางศีลธรรม
แนวความคิดของขงจื๊อ จึงเรียกว่า ลัทธิขงจื๊อ (Confucianism)
ขงจื๊อต้องการให้จีนกลับไปสู่แนวคิดและการปฏิบัติตั้งแต่ยุคที่ผู้คนรู้จักบทบาทที่เหมาะสมในสังคม
แนวทางเหล่านี้เป็นเครื่องนำทางซึ่งขงจื๊อคิดว่าควรจะรื้อฟื้นระเบียบของตระกูลและความสามัคคีของสังคม:
- บิดาทั้งหลายควรจะแสดงคุณค่าทางศีลธรรมอันสูงส่งเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ตระกูลของตนเอง
- บุตรทั้งหลายควรเคารพและเชื่อฟังบิดามารดาของตนเอง
- สมาชิกในครอบครัวทุกคนควรจะซื่อสัตย์ต่อกัน
แนวความคิดของขงจื๊อเกี่ยวกับการปกครองคล้ายกับแนวความเกี่ยวกับครอบครัวของท่าน
ดังนี้:
- ภาวะผู้นำทางศีลธรรม
ไม่ใช่กฎหมาย ได้นำความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาสู่จีน
- กษัตริย์ควรจะเป็นผู้นำตัวอย่าง
ด้วยการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ดีในหมู่ประชากรของพระองค์ทุกคน
- ชนชั้นต่ำควรจะเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติตามตัวอย่างผู้บังคับบัญชาของตนเอง
ขงจื๊อได้อธิบายแนวความคิดนี้ในขณะที่ท่านบอกเล่าให้กับเหล่ากษัตริย์:
“จงเป็นผู้นำของประชาชนด้วยวิถีแห่งนโยบายการปกครองและดูแลพวกเข้าด้วยการลงโทษ
และพวกเขาจะเป็นคนที่หลีกหนีปัญหาและไม่มีความรู้สึกละอาย จงเป็นผู้นำของพวกเขาด้วยวิถีแห่งคุณธรรม...และพวกเขาจะมีความรู้สึกละอายและยิ่งไปกว่านั้นจะมีมาตรฐาน”
- ขงจื๊อ, จาก
ปกิณกคดี
ในขณะที่ขงจื๊อเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง
ๆ มากมาย ท่านก็ได้รับชื่อเสียงแห่งความเป็นครูผู้น่าเคารพ แนวความคิดของท่านได้รับการถ่ายทอดต่อไปโดยลูกศิษย์ของท่านและต่อมาก็ได้รับการรวบรวมเป็นหนังสือ
เรียกว่า ปกิณกคดี (The
Analects)
เนื่องจากลัทธิขงจื๊อมุ่งสอนศีลธรรม
ครอบครัว สังคม และการปกครอง
ประชาชนจึงคิดว่าเป็นปรัชญาหรือวิธีทางแห่งความคิดอยู่เสมอ แต่ก็ไม่มาก
ลัทธิขงจื๊อเป็นคำสอนเฉพาะที่เป็นทั้งปรัชญาและศาสนา มีอิทธิพลในการชี้แนะพฤติกรรมของมนุษย์และความเข้าใจทางศาสนาในจีน
ขงจื๊อเชื่อว่า
เมื่อประชาชนประพฤติดีและปฏิบัติตามศีลธรรม พวกเขาก็จะไปสู่สวรรค์ตามความปรารถนาได้ง่าย
เมื่อผ่านไปหลายร้อยศตวรรษ แนวความคิดของขงจื๊อเกี่ยวคุณธรรม เมตตา
และการเรียนรู้ก็กลายเป็นความเชื่อที่โดดเด่นในจีน
ลัทธิเต๋าและนิตินิยม
ความเชื่ออื่น
ๆ นอกจากลัทธิขงจื๊อ ก็มีอิทฺธิพลต่อจีนในยุคราชวงศ์โจว
มีสองลัทธิที่ดึงดูดความสนใจเหล่าสาวกมากมาย
ลัทธิเต๋า
ลัทธิเต๋าได้ชื่อมาจากคำว่า
เต๋า ซึ่งหมายถึง หนทาง ลัทธิเต๋าเน้นการดำเนินชีวิตด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเต๋า
ซึ่งเป็นพลังชี้นำความจริงทั้งปวง ในคำสอนของเต๋า
|
เต๋าได้ให้กำเนิดจักรวาลและทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล
ลัทธิเต๋าได้พัฒนาบางส่วนที่เป็นปฏิกิริยาต่อลัทธิขงจื๊อ ชาวเต๋าไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดที่เป็นเชิงรุก
ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำที่นำความสามัคคีทางสังคมมาให้ พวกเขาต้องการให้รัฐบาลอยู่วงนอกการดำเนินชีวิตของประชาชน
ชาวเต๋าเชื่อว่า
ประชาชนควรจะหลีกเลี่ยงการก้าวก่ายธรรมชาติหรือก้าวก่ายซึ่งกันและกัน
พวกเขาควรจะเป็นเหมือนน้ำและปล่อยให้สิ่งทั้งหลายไหลไปตามวิถีทางแห่งธรรมชาติอย่างง่าย
ๆ สำหรับชาวเต๋าแล้ว นักปกครองในอุดมคติหรือบุคคลที่ฉลาดมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเต๋า
เขาควรจะปกครองโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก ซึ่งประชาชนไม่ควรจะรู้เสียด้วยซ้ำว่าพวกเขาถูกปกครอง
ชาวเต๋าสอนว่า
จักรวาลคือความสมดุลของสิ่งที่ตรงกันข้าม
ผู้หญิงกับผู้ชาย แสงสว่างกับความมืด ต่ำและสูง ในแต่ละกรณีพลังที่ตรงกันข้ามควรจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในขณะที่ลัทธิขงจื๊อมุ่งความสนใจของสาวกไปที่โลกมนุษย์
ชาวเต๋าจะสนใจไปที่โลกแห่งธรรมชาติมากกว่า ชาวเต๋าถือว่า
มนุษย์ทั้งหลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ดีกว่าสิ่งอื่นใดเลย ในไม่ช้า
เต๋า ในฐานะเป็นตัวของธรรมชาติ ก็กลายเป็นลัทธิที่สำคัญมากต่อชาวเต๋าซึ่งพวกเขาเคารพนับถือ
เล่าจื๊อครูเต๋าที่มีชื่อเสียงที่สุด
ท่านสอนว่า ประชาชนไม่ควรพยายามมีความมั่งคั่ง ทั้งไม่ควรแสวงหาอำนาจ
เล่าจื๊อได้รับความเชื่อถือด้วยการเขียนคัมภีร์พื้นฐานของลัทธิเต๋า คือ The Way and Its
Power
ต่อมานักเขียนหลายคนได้สร้างตำนานเกี่ยวกับความสำเร็จของเล่าจื๊อมากมาย
ลัทธินิตินิยม
ลัทธินิตินิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า
ประชาชนเป็นคนเลวโดยธรรมชาติและจำเป็นจะต้องได้รับการควบคุม มีความเห็นตรงกันข้ามกับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า
ลัทธินิตินิยมไม่เหมือนกับสองลัทธินอกนั้น
เป็นปรัชญาทางการเมืองที่ปราศจากการเกี่ยวข้องกับศาสนา
มีความเกี่ยวข้องกับการปกครองและการควบคุมทางสังคมอย่างเดียว
ศิษยานุศิษย์ของลัทธินิตินิยมไม่เห็นด้วยกับการเผยแพร่ศีลธรรมของขงจื๊อ
พวกนิตินิยมยังปฏิเสธลัทธิเต๋าด้วย เนื่องจากไม่เน้นความเคารพต่อผู้มีอำนาจ
พวกนิตินิยมมีความรู้สึกว่า
สังคมต้องการกฎที่เข้มงวดเพื่อรักษาประชาชนให้อยู่ในระเบียบวินัยและมีความรู้สึกว่า
การลงโทษควรจะเหมาะสมสำหรับอาชญากรรม ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาเชื่อว่า
ประชากรควรจะมีความรับผิดชอบต่อความประพฤติของกันและกัน ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านของผู้กระทำผิดก็ควรจะถูกลงโทษด้วย
แนวทางนี้ ทุก ๆ คนควรจะเชื่อถือกฎหมาย
ความเป็นเอกภาพและความมีประสิทธิภาพยังมีความสำคัญต่อพวกนิตินิยมด้วย
พวกเขาต้องการให้เจ้าหน้าที่ได้รับการแต่งตั้ง ไม่ใช่ชนชั้นสูง เข้ามาบริหารจีน
พวกนิตินิยมต้องการให้จักรวรรดิดำเนินการขยายต่อไป ด้วยเหตุนั้น
พวกเขาจึงผลักดันให้รัฐเตรียมการก่อสงครามอยู่เสมอ ๆ
ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า
และลัทธินิตินิยม แข่งขันกันแย่งศิษยานุศิษย์ ความเชื่อสามอย่างทั้งหมดกลายเป็นได้รับความนิยม
แต่พวกนิตินิยมเป็นพวกแรกที่วางแนวความคิดของตนเองเข้าไปในข้อปฏิบัติทั่วประเทศจีน
|
ขงจื๊อ
(มีชีวิตอยู่ระหว่าง 551 – 479 ปีก่อนคริสตกาล)
ขงจื๊อ หรือ ข่งฟูจื่อ เจริญเติบในครอบครัวที่ยากจนมาก
ท่านอุทิศตนเป็นนักศึกษาตั้งเยาว์วัย พวกเรารู้จักการศึกษาตามรูปแบบเพียงเล็กน้อย
แต่ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชา รวมทั้งดนตรี คณิตศาสตร์ บทกวี
และประวัติศาสตร์ ท่านได้รับตำแหน่งทางการปกครองเพียงเล็กน้อย แล้วท่านก็เป็นครู
ท่านไม่เคยทราบเลยว่า คำสอนของท่านจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและความคิดของชาวจีนได้
|
เล่าจื๊อ
(มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 500 หรือ 400 ก่อนคริสตกาล)
|