อินเดียโบราณ (Ancient India)
ภูมิศาสตร์และอินเดียยุคแรก
|
||
ภูมิศาสตร์ของอินเดีย
ถ้าเราดูแผนที่เอเชีย
เราจะเห็นแผ่นดินขนาดใหญ่ คล้าย ๆ รูปสามเหลี่ยมหรือคล้ายกับรวงผึ้ง
ยื่นออกมาจากส่วนทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย นั่นแหละคือประเทศอินเดีย เป็นทำเลแหล่งกำเนิดของอารยธรรมยุคแรกแห่งหนึ่งของโลก
|
||
ธรณีสัณฐานและแม่น้ำ
อินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่โตมหึมา
ในความเป็นจริง มันใหญ่มากจนกระทั่งนักภูมิศาสตร์มากมายเรียกมันว่า อนุทวีป (subcontinent) อนุทวีปคือทวีปขนาดใหญ่แต่เล็กกว่าทวีป
ปกติแล้วอนุทวีปจะแยกออกเป็นส่วนหนึ่งของทวีปตามลักษณะกายภาพ ถ้ามองดูแผนที่
จะเห็นภูเขาขนาดใหญ่ แยกอินเดียออกเป็นส่วนหนึ่งของเอเชีย
ภูเขาหิมาลัยเป็นภูเขาเทือกหนึ่งในบรรดาเทือกเขาทางอินเดียตอนเหนือ
เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก ทางทิศตะวันตกก็มีเทือกเขาฮินดูกูช (Hindu Kush) แม้ว่าภูเขาเหล่านี้จะทำให้เข้าไปสู่อินเดียยาก เหล่าผู้รุกรานก็ยังค้นพบทางผ่านภูเขาเหล่านั้น
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ทางตะวันตกของเทือกเขาหิมาลัย
ก็เป็นทะเลทรายอันกว้างใหญ่ไพศาล ส่วนที่เหลือของอินเดียจำนวนมาก
เต็มไปด้วยที่ราบอันอุดมสมบูรณ์และที่ราบสูงอันขรุขระ
แม่น้ำสายสำคัญหลายสายไหลลงมาจากภูเขาหิมาลัย
ลุ่มแม่น้ำแห่งหนึ่งในหลายแห่งคือลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus valley) เป็นที่ตั้งของอารยธรรมแห่งแรกของอินเดีย ปัจจุบันแม่น้ำสินธุตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของอินเดีย เมื่อเวลาหิมะตกหนักในภูเขาหิมาลัย
หลอมเหลวไหลหลากเป็นแม่น้ำสินธุ เช่นเดียวกับในเมโสโปเตเมียและอียิปต์ น้ำหลากจะทิ้งโคลนอันอุดมสมบูรณ์เป็นชั้น
ๆ ไว้เบื้องหลัง โคลนเหล่านั้นจะสร้างที่เพาะปลูกอันอุดมสมบูรณ์ให้กับเหล่าผู้ตั้งหลักแหล่งในยุคแรก
ภูมิอากาศ
ส่วนมากอินเดียจะมีภูมิอากาศร้อนและชื้น
ภูมิอากาศแบบนี้ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมของอินเดียอย่างหนัก ลมประจำฤดูทำให้เกิดฤดูฝนและฤดูแล้ง
ในฤดูร้อน
ลมมรสุมจะพัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่อินเดีย พัดพาฝนให้ตกหนัก
ซึ่งสามารถทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก อินเดียบางส่วนจะรับน้ำฝนมากถึง 100 นิ้ว
หรืออาจจะถึง 200 นิ้วในช่วงนี้ ในฤดูหนาว ลมจะพัดลงจากภูเขา อิทธิพลนี้ทำให้ความชื้นพัดออกจากอินเดียและทำให้เกิดฤดูหนาวที่อบอุ่น
แห้งแล้ง
อารยธรรมฮารัปปา (Harappan
Civilization)
นักประวัติศาสตร์ทั้งหลายเรียกอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำสินธุว่า
อารยธรรม ฮารัปปา (Harappan
Civilization) อีกประการหนึ่ง การตั้งถิ่นฐานของฮารัปปามากมาย
ถูกค้นพบตามฝั่งแม่น้ำสรัสวดี ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมฮารัปปาคล้ายกับสังคมโบราณอื่น
ๆ ได้พัฒนาปรับปรุงชลประทานและเกษตรกรรม
ในขณะที่เหล่าเกษตรกรเริ่มผลิตข้าวปลาอาหารได้ล้นเหลือ
เมืองเล็กและเมืองใหญ่ก็เกิดขึ้นในอินเดีย
|
เมืองแรกของอินเดีย
อารยธรรมฮารัปปาตั้งชื่อตามเมืองฮารัปปา
อันทันสมัย ในประเทศปากีสถาน ใกล้ ๆ เมืองนี้
มีการค้นพบซากปรักหักพังของอารยธรรมเป็นครั้งแรก จากการศึกษาซากปรักหักพัง
นักโบราณคดีคิดว่า อารยธรรมนี้เจริญรุ่งเรืองอยู่ระหว่าง 2,300 ถึง 1,700 ปี
ก่อนคริสตกาล
แหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดที่เรามีเกี่ยวกับอารยธรรมฮารัปปาคือซากปรักหักพังของเมืองขนาดใหญ่สองเมือง
คือ เมืองฮารัปปาและเมืองโมเหนโจ ดาโร (Harappa and Mohenjo Daro) เมืองสองเมืองนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสินธุห่างจากกันออกไปมากกว่า
300 ไมล์ แต่คล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาด
ทั้งเมืองฮารัปปาและเมืองโมเหนโจ
ดาโร มีการวางผังเมืองเป็นอย่างดี แต่ละเมืองตั้งอยู่ใกล้ป้อมปราการ
ถัดจากป้อมปราการเหล่านี้ จะมีผู้พิทักษ์เมืองสามารถมองลงไปยังถนนทำด้วยอิฐซึ่งตัดกันที่มุมด้านขวาและมีคลังเก็บสินค้า
ที่ทำงาน ร้านค้า และบ้านเรือนตั้งเป็นเส้นแนว อีกประการหนึ่ง เมืองทั้งสองเมืองมีบ่อน้ำสาธารณะมากมาย
ความสำเร็จของฮารัปปา
อารยธรรมฮารัปปามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
บ้านเรือนส่วนมากมีห้องน้ำซึ่งมีท่อประปาอยู่ภายใน ช่างฝีมือทำเครื่องปั้นดินเผา
เครื่องเพชรพลอย สินค้าจากงาช้าง และผ้าฝ้ายได้อย่างยอดเยี่ยม
ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพสูงและพัฒนาระบบการชั่งและการวัด
ชาวฮารัปปายังได้พัฒนาระบบการเขียนครั้งแรกของอินเดียด้วย
แต่นักวิชาการยังไม่รู้วิธีอ่านภาษานี้ ดังนั้น เราจึงรู้จักสังคมฮารัปปาน้อยมาก
นักประวัติศาสตร์คิดว่า ชาวฮารัปปามีกษัตริย์และรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง
แต่พวกเขาไม่มีความมั่นใจ ประชาชนก็คล้ายกวับในอียิปต์
อาจจะนับถือกษัตริย์เป็นเทพเจ้า
อารยธรรมฮารัปปาสิ้นสุดลงประมาณ
ศตวรรษที่ 1,700 ก่อนคริสตกาล แต่ไม่มีใครแน่ใจว่าเป็นเพราะเหตุใด บางที
อาจจะมีผู้รุกรานมาทำลายเมืองหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น
น้ำท่วมหรือแผ่นดินไหว ทำให้อารยธรรมล่มสลาย
|
การอพยพของอารยัน (Aryan)
ไม่นานนักหลังจากอารยธรรมฮารัปปาล่มสลาย
มีกลุ่มชนกลุ่มใหม่อพยพเข้าในลุ่มแม่น้ำสินธุ กลุ่มคนเหล่านั้นเรียกว่า อารยัน (Aryan)
เดิมทีกลุ่มคนเหล่านั้นมาจากพื้นที่รอบ ๆ บริเวณทะเลแคสเปียนในเอเชียตอนกลาง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มคนเหล่านั้นก็กลายเป็นกลุ่มที่มีอำนาจเหนือกว่าในอินเดีย
การเข้ามาและการแพร่กระจาย
ชาวอารยันมาถึงอินเดียครั้งแรก
เมื่อศตวรรษที่ 2,000 ก่อนคริสตกาล นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อว่า
ชาวอารยันข้ามผ่านช่องเขาเข้าไปสู่อินเดียในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อผ่านไปหลายศตวรรษ
ชาวอารยันจึงแพร่กระจายไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้เข้าไปสู่อินเดียตอนกลาง
จากเอเชียกลาง พวกเขาก็อพยพไปไกลแม้ทางทิศตะวันออกเข้าไปสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา
ส่วนมากที่เรารู้เกี่ยวกับสังคมอารยันมาจากการเขียนทางศาสนาที่รู้จักกันว่า
พระเวท การเขียนเหล่านี้เป็นการรวบรวมบทกวี บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า ตำนาน
และพิธีกรรมที่นักบวชชาวอารยันเขียนขึ้น
การปกครองและสังคม
เนื่องจากเป็นพวกเร่ร่อน
ชาวอารยันจะพาฝูงสัตว์เลี้ยงไปด้วยในขณะที่พวกเขาอพยพ แต่เมื่อเวลาผ่านไป
พวกเขาจะตั้งหลักแหล่งเป็นหมู่บ้านและเริ่มจะทำเกษตรกรรม ชาวอารยันไม่เหมือนกับชาวฮารัปปา
ไม่ได้สร้างเมืองใหญ่มากมาย
ระบบสังคมอารยันยังแตกต่างจากระบบของฮารัปปาอีกด้วย
อารยันอาศัยอยู่เป็นสังคมเล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นครอบครัว ไม่มีผู้มีอำนาจปกครองแบบโดดเดี่ยว
แต่ละกลุ่มจะมีผู้นำกลุ่มเป็นของตนเองแทน
มักจะมีนักรบผู้มีทักษะเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ
หมู่บ้านชาวอารยันปกครองโดยพระราชา
พระราชาของอารยันคือผู้นำที่ปกครองหมู่บ้านและดินแดนรอบ ๆ หมู่บ้าน ชาวบ้านจะทำเกษตรกรรมบางส่วนในดินแดนนี้ให้กับพระราชา
พวกเขาจะใช้ส่วนอื่น ๆ เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ให้กับโค ม้า แกะ และแพะ
|
แม้ว่าจะมีพระราชามากมายมีความเกี่ยวดองเป็นญาติกัน
โดยปกติแล้ว พวกเขาก็ไม่เป็นมิตรกัน บางครั้ง
พระราชาก็เข้าร่วมกันเป็นกองทัพต่อสู่กับศัตรูทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ตาม เวลาอื่น
พระราชาก็เสด็จไปทำสงครามซึ่งกันและกัน ในความเป็นจริง
กลุ่มอารยันจะสู้รบกันเกือบจะเป็นกิจวัตรเหมือนกับสู้รบกับศัตรูภายนอก
ภาษา
ผู้ตั้งหลักแหล่งชาวอารยันพวกแรกไม่มีการอ่านและการเขียน
ด้วยเหตุนี้
พวกเขาจึงต้องจำบทกวีและบทเพลงสรรเสริญซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในวัฒนธรรมของพวกเขา
เช่น พระเวท ถ้าประชาชนลืมบทกวีและบทเพลงสรรเสริญเหล่านี้ ผลงานก็จะสูญสิ้นไปตลอดกาล
ภาษาที่ชาวอารยันเหล่านี้ใช้เรียบเรียงบทกวีและบทเพลงสรรเสริญ
คือ ภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญมากที่สุดของอินเดียโบราณ ครั้งแรก
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาพูดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ประชาชนก็รู้จักวิธีเขียน
ดังนั้นพวกเขาจึงเก็บบันทึกไว้ได้
การบันทึกเป็นภาษาสันสกฤตเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสังคมอารยัน
ภาษาสันสกฤตไม่ได้พูดมาเป็นเวลานานแล้วในปัจจุบันนี้ แต่มันเป็นรากฐานของภาษาหลายภาษาในเอเชียใต้สมัยใหม่
(เชน ฮินดี ทมิฬ พม่า ลาว ไทย เขมร)
|